การศึกษาสัณฐานวิทยาเชิงปริมาณของเขียดงูบางชนิดที่พบในประเทศไทย

Authors

  • ณัฐกรณ์ เตียวเจริญ
  • ปรวีร์ พรหมโชติ

Keywords:

เขียดงูหัวแหลม, เขียดงูดำ, เขียดงูศุภชัย, เขียดงูเกาะเต่า, ลักษณะสัณฐานภายนอก

Abstract

            ประเทศไทยมีรายงานการพบเขียดงูสกุล Ichthyophis 6 ชนิด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการสร้างเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกชนิดของเขียดงูในประเทศไทยนอกจากการใช้จำนวนฟันเป็นหลัก จึงนำมาสู่การศึกษาวิจัยในครั้งนี้โดยใช้ตัวอย่างเขียดงู 4 ชนิด ที่ถูกจำแนกว่าเป็น Ichthyophis acuminatus, I. larutensis, I. supachaii และ I. kohtaoensis (2, 2, 10 และ 43 ตัวอย่างตามลำดับ) ศึกษาลักษณะสัณฐานเชิงปริมาณภายนอกรวม 38 ลักษณะ วิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มแบบเป็นขั้นตอน พบว่า 1) สามารถจำแนกระยะวัยเด็กระหว่าง I. kohtaoensis กับ I. supachaii ได้ 2) สามารถจำแนกระยะตัวเต็มวัยระหว่าง I. acuminatus กับ I. larutensis ได้โดยที่ไม่ต้องใช้จำนวนฟันตามที่มีรายงานมาก่อนหน้า และ 3) ระยะตัวเต็มวัยของ I. kohtaoensis และ I. supachaii นั้นไม่สามารถถูกจำแนกออกจากกันได้ซึ่งไม่สอดคล้องกับการจำแนกก่อนหน้า และเนื่องจากตัวอย่างส่วนใหญ่นั้น ไม่สามารถใช้ลวดลายหรือจำนวนฟันซึ่งเป็นลักษณะสำคัญในการใช้จำแนกชนิดเขียดงูในสกุล Ichthyophis ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การวิเคราะห์ทางโมเลกุลมาช่วยยืนยันชนิดของตัวอย่าง จากนั้นจึงนำผลการศึกษาทางสัณฐานนี้ไปใช้ประกอบเพื่อบรรยายลักษณะที่ครอบคลุมความแปรผันของแต่ละชนิด สุดท้ายจึงนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างเกณฑ์สำหรับการจำแนกชนิดเขียดงูที่พบในประเทศไทยต่อไป             Six species of the caecilian genus Ichthyophis have been reported in Thailand. At present, besides the numbers of teeth, there is no unambiguous criteria, which can be used in the classification and identification of the caecilians in Thailand. We used 4 species of caecilians which were identified as Ichthyophis acuminatus, I. larutensis, I. supachaii, and I. kohtaoensis (2, 2, 10 and 43 specimens, respectively). Thirty-eight externally morphometric characters were examined. Principal component and hierarchical cluster analyses were conducted. The results showed that 1) the juveniles of I. kohtaoensis could be separated from I. supachaii. 2) the adult samples of I. acuminatus could be separated from I. larutensis without using the criterion of the splenial teeth as previously reported and 3) the adult specimens of I. supachaii and I. kohtaoensis were not conclusively classified, which was different to the previous identification. Since the pattern of lateral stripe and teeth, the important characters of Ichthyophis identification, of most adult I. kohtaoensis and I. supachaii specimens were unusable, we therefore suggest that molecular analysis is required to confirm species all of specimens first. Next, morphological data of this study will be added to all species descriptions to fulfill the species variations. Finally, molecular and morphological data will be used for the key of Thai caecilians.

Downloads

Published

2021-04-26