การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ต้นน้ำต่อปริมาณน้ำท่า ตะกอนแขวนลอย และคุณภาพน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร

Authors

  • บรรจงศักดิ์ ฟักสมบูรณ์
  • วิไลลักษณ์ สวนมะลิ
  • นพรัตน์ ไชยวิโน
  • นเรศ ขำเจริญ
  • สินีภา บัวสรวง

Keywords:

การเปลี่ยนแปลง, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, พื้นที่ต้นน้ำ, ปริมาณน้ำท่า, ตะกอนแขวนลอย, ลุ่มน้ำคลองลาน

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ต้นน้ำต่อปริมาณน้ำท่า ตะกอนแขวนลอย และคุณภาพน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองลาน โดยการประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการประเมินปริมาณน้ำท่า ตะกอนแขวนลอย และคุณภาพน้ำ จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์บริเวณพื้นที่ต้นน้ำในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2560 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ.2561 และสอบเทียบความถูกต้องของแบบจำลองจากข้อมูลการตรวจวัดจริง โดยการปรับค่าสัมประสิทธิ์พารามิเตอร์ที่สำคัญโดยใช้โปรแกรม SWAT CUP ซึ่งความถูกต้องและความเหมาะสมพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ตัวกำหนด (R2) ความแม่นยำของแบบจำลอง (NSE) และร้อยละของความแตกต่าง (MSE) ผลการศึกษา พบว่า ลุ่มน้ำคลองลานมีขนาดพื้นที่เท่ากับ 90.07 ตารางกิโลเมตร 11 หน่วยตอบสนองทางอุทกวิทยา โดยช่วงกรณี Scenario 1 เสถานการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในสภาพที่เป็นอยู่จริง มีปริมาณน้ำท่ารวมเท่ากับ 28.73 ล้านลูกบาศก์เมตร ตะกอนแขวนลอยรวมเท่ากับ 2.386 ตัน และคุณภาพน้ำ (BOD) เฉลี่ยเท่ากับ 0.55 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนช่วงกรณี Scenario 2 สถานการณ์จำลองการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยยึดตามหลักขอบเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองลาน พบว่า มีปริมาณน้ำท่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 10.15 ล้านลูกบาศก์เมตร ตะกอนแขวนลอยลดเท่ากับ 0.655 ตัน และคุณภาพน้ำ (BOD) เฉลี่ยลดลงเท่ากับ 0.076 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อเทียบกับช่วงกรณี Scenario 1 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าไม้และการลดลงของพื้นที่พืชไร่ สวนผลไม้ผสม พื้นที่เบ็ดเตล็ด และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง            The objective of this work was to study the land use changes of head watershed area on streamflow (Q), suspended sediment (SS) and water quality (Biochemical Oxygen Demand; BOD) in Khlong Lan Watershed (KLW). The SWAT (Soil and Water Assessment Tool) model and GIS (Geographic Information System) were applied to estimate amount of the streamflow, suspended sediment and BOD from the land use changes of head watershed area during November 2017 to October 2018. The reliability of the model was calibrated with the observed data by adjusting the coefficient of the key parameters by using SWAT CUP program. The goodness of the calibration results were assessed based on the coefficient of determination (R2), nash-sutcliffe efficiency (NSE) and mean squared error (MSE). The results showed that the KLW area was 90.07 km2, 11 hydrological response units. The Scenario 1: The land use at the existing condition, indicated that the total amount of streamflow was 28.73 MCM, total suspended sediment was 2.386 tons and average BOD was 0.55 mg/L. The simulation of the Scenario 2: The land use based on the Khlong Lan National Park boundary, implied that the total amount of the streamflow an increasing to 10.15 MCM, suspended sediment was decreased to 0.655 tons and average BOD was decreased 0.076 mg/L when compared to the Scenario 1 because of increasing in forest area and decreased field crops, orchard, other area and urban area.

Downloads