การปนเปื้อนสารชีวพิษกรดโดโมอิก ในสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมเกยตื้นในน่านน้ำไทย
Keywords:
กรดโดโมอิก, สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม, สารชีวพิษAbstract
ศึกษาการปนเปื้อนสารชีวพิษกรดโดโมอิกในชิ้นเนื้อตัวอย่างสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ที่เกยตื้นเสียชีวิต ในน่านน้ำไทย ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงกันยายน 2561 จำนวน 9 ชนิด 20 ตัว ได้แก่ วาฬหัวทุยเล็ก (Kogia breviceps) วาฬหัวทุยแคระ (Kogia sima) วาฬนาร่องครีบสั้น (Globicephala macrorhynchus) โลมาหลังโหนก (Sousa chinensis) โลมาปากขวด (Tursiops aduncus) โลมาลายแถบ (Stenella coeruleoalba) โลมาอิรวดี (Orcaella brevirostris) โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Neophocaena phocaenoides) และพะยูน (Dugong dugon) พบมีการปนเปื้อนสารชีวพิษกรดโดโมอิก จำนวนทั้งสิ้น 13 ตัว คิดเป็นร้อยละ 65 ของจำนวนตัวที่ศึกษาทั้งหมด มีค่าการปนเปื้อนอยู่ระหว่าง nd-68.61μg/g โดยอาหารในกระเพาะมีค่าเฉลี่ยการปนเปื้อนกรดโดโมอิกสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ อาหารในลำไส้ ไต ตับ และอุจจาระ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยมีจำนวนซากสดเกยตื้นมากขึ้น ยังมีความจำเป็นเพื่อให้มีความเข้าใจถึงสถานการณ์การปนเปื้อนของกรดโดโมอิกในสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมของประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้นต่อไป Study of Contamination of biotoxin, Domoic acid in stranded marine mammals in Thai water was conducted during October 2016 - September 2018. A total of 9 species of 20 marine mammals was investigated, which were Pygmy sperm whale (Kogia breviceps), Dwarf sperm whale (Kogia sima), Shot-finned pilot whale (Globicephala macrorhynchus), Indo-Pacific humpback dolphin (Sousa chinensis), Indo-Pacific bottlenose dolphin (Tursiops aduncus), Striped dolphin (Stenella coeruleoalba), Irrawaddy dolphin (Orcaella brevirostris), Finless porpoise (Neophocaena phocaenoides) and Dugong (Dugong dugon). The results reveal that 65% of marine mammals were positively detected by domoic acid (13 of 20 individuals) with the concentration ranged between nd - 68.61 μg/g. The highest average concentration detected in stomach content, followed by intestinal contents, kidney, liver and feces, respectively. However, further study and more number of fresh stranded marine mammals are still needed for the better understanding of status of contamination of domoic acid in Thai marine mammals.Downloads
Issue
Section
Articles