ชนิดของกุ้งเคย Acetes (Decapoda : Sergestidae) บริเวณชายฝั่งจังหวัดระยอง
Keywords:
กุ้งเคย, บริเวณชายฝั่ง, จังหวัดระยองAbstract
เก็บตัวอย่างกุ้งเคยสกุล Acetes บริเวณจุดสำรวจ ปากแม่น้ำพังราด ปากแม่น้ำประแสร์ หาดแหลมแม่พิมพ์ หาดสวนสน และหาดพลา จังหวัดระยอง ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 พบกุ้งเคยทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก่ Acetes erythraeus Nobili, 1905 A. japonicus Kishinouye, 1905 และ A. vulgaris Hansen, 1919 จากการศึกษาลักษณะภายนอกของกุ้งเคยทั้งสามชนิด พบว่า ตัวเต็มวัยมีขนาดความยาวลำตัวอยู่ในช่วงประมาณ 2-3 เซนติเมตร เพศเมียของกุ้งเคยทั้งสามชนิดมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่แตกต่างและสามารถแยกกุ้งเคยทั้งสามชนิดออกจากกันได้อย่างชัดเจนคือ หนามเกี่ยว (clasping spine) ที่เปลี่ยนแปลงมาจากเส้นหนวดคู่ที่ 1 อันล่างของกุ้งเคยเพศผู้ และปลายหาง (apex of telson) ของกุ้งเคยทั้งเพศผู้และเพศเมีย เส้นหนวดคู่ที่ 1 อันล่างในเพศผู้ของ Acetes erythraeus และ A. vulgaris มีหนามเกี่ยว 1 อัน ในขณะที่ A. japonicas มีหนามเกี่ยว 2 อัน ส่วนปลายหางทั้งเพศผู้และเพศเมียของ A. erythraeus และ A. vulgaris มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ในขณะที่ A. japonicus มีลักษณะกลมมน Three species of Acetes shrimps viz., Acetes erythraeus Nobili, 1905, A. japonicus Kishinouye, 1905 and A vulgaris Hansen, 1919 were found from five different sites namely Pang Rad Estuary, Pra Sae Estuary, Laem Mae Pim beach, Suan Son beach and Pla beach in Rayong Province during June 2016 to August 2017. Study on external morphology found that total length of all three species of Acetes shrimps were in the range of 2-3 centimeter. Female Acetes shrimps of all three species are bigger than males. Distinct taxonomic characteristics that can be used to clearly identified three species of Acetes shrimps were clasping spine of lower antennular flagellum of males and apex of telson in both males and females. A. erythraeus and A. vulgaris have lower antennular flagellum with one clasping spine whereas A. japonicas have lower antennular flagellum with two clasping spines. Both males and females of A. japonicas have apex of telson with round shapes whereas A. erythraeus and A. vulgaris have apex of telson with triangular shapes.Downloads
Issue
Section
Articles