การสกัดคาร์เบนดาซิมตกค้างในผักกาดหอมด้วยวิธีการกระจายตัวดูดซับของแข็งในเนื้อสาร

Authors

  • สมบูรณ์ กีรติประยูร
  • ภารดี ช่วยบำรุง

Keywords:

คาร์เบนดาซิม, วิธีการสกัด, วิเคราะห์สารกำจัดศัตรูพืช, ศัตรูพืช, การกระจายตัวดูดซับของแข็งในเนื้อสา

Abstract

         การศึกษานี้ต้องการหาวิธีการสกัดและวิเคราะห์คาร์เบนดาซิมตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา โดยใช้วิธีการกระจายตัวดูดซับของแข็งในเนื้อสารด้วยการตำตัวดูดซับชนิดไดอะตอมเมเชียส เอิร์ธรวมกับผักกาดหอมที่เติมสารคาร์เบนดาซิมมาตรฐานความเข้มข้น 1, 3 และ 5 ไมโครกรัมต่อกรัม เพื่อให้เกิดพันธะระหว่างกัน โดยศึกษาปริมาณผักกาดหอม (0.5, 1, 3 และ 5 กรัม) ต่อปริมาณตัวดูดซับ (0.5, 1, 2, 4 และ 6 เท่าของผักกาดหอม) ที่เหมาะสม และชนิดและปริมาณตัวทำละลายที่เหมาะสม ได้แก่ ไดคลอโรมีเทน เมทานอล เอทิลอะซิเตท และไดคลอโรมีเทนผสมเมทานอลในอัตราส่วนร้อยละ 70 : 30 ชะไล่คาร์เบนดาซิมออกมาจากกระบอกบรรจุ ระเหยแห้งแล้วใช้เมทานอลละลายคาร์เบนดาซิมกลับขึ้นมาใหม่และนำไปวิเคราะห์ความเข้มข้นของคาร์เบนดาซิมที่สกัด ได้เปรียบเทียบกับความเข้มข้นที่เติมลงไป โดยคำนวณเป็นร้อยละการคืนกลับ ซึ่งค่าที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานของ The Association of Analytical Communities คือ ร้อยละ 80-110 ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณผักกาดหอมที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาสกัดและวิเคราะห์ คือ 1 กรัม สัดส่วนระหว่างผักกาดหอม : ตัวดูดซับไดอะตอมเมเชียส เอิร์ธที่ให้ร้อยละการคืนกลับที่ดีที่สุดคือ 1 : 4 กรัม และตัวทำละลายที่ชะคาร์เบนดาซิมออกมาจากพันธะได้ดีที่สุดเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ เมทานอล > ไดคลอโรมีเทนผสมเมทานอล > เอทิลอะซิเตท > ไดคลอโรมีเทน ในปริมาตรตัวทำละลาย ที่เหมาะสมที่สุด คือ 40 มิลลิลิตร ผลที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้วิเคราะห์สารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ ต่อไปได้ เนื่องจากวิธีที่ใช้มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและใช้สารเคมีในปริมาณน้อย           This study aimed for practically unsophisticated, less time- and cost-consuming techniques in extracting and analyzing carbendazim residue in lettuce. The used method was matrix solid-phase dispersion. By mechanically blended diatomaceous earth with the lettuce that spiked standard carbendazim concentrations of 1, 3, and 5 μg/g, by using mortar and pestle, a bonded-phase was induced between them. The amounts of lettuce were 0.5, 1.0, 3.0, and 5.0 g, while the amounts of the solid support were 0.5, 1.0, 2.0, 4.0, and 6.0 times those of the lettuce quantities. The mixtures were filled in plastic syringes and different solvents which were dichloromethane, methanol, ethyl acetate, and the 70:30 mixture of dichloromethane and methanol were poured one at the time to elute the carbendazim and then evaporated. The residual carbendazim was re-dissolved using methanol and determined its concentration. The obtained concentration was compared to the initial spiked concentration to determine the recovery percentage. The acceptable range is 80-110%, based on the Association of Analytical Communities. It was found that the appropriate amount of lettuce for this method was 1.0 g, with the ratio of 1:4 between lettuce and diatomaceous earth. The suitable solvent for eluting carbendazim in a descending order was methanol > a mixture between dichloromethane and methanol > ethyl acetate > dichloromethane. The suitable amount of solvent was 40 mL. The findings can be applied to other pesticide residue in agricultural products since it is not complicated and use small amount of chemical substances.

Downloads