เทคโนโลยีการแช่แข็งตัวอ่อนปลา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนางานวิจัยของไทย
Keywords:
การแช่แช็ง, ตัวอ่อนปลา, อุปสรรค, การพัฒนางานวิจัย, ไทยAbstract
การศึกษาวิจัยการแช่แข็งตัวอ่อนปลาในประเทศไทยเป็นเทคโนโลยีทางชีวภาพที่มีรายงานการศึกษาวิจัยน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการแช่แข็งน้ำเชื้อและการศึกษาของต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันการแช่แข็งตัวอ่อนปลายังไม่ประสบผลสำเร็จอย่างชัดเจน เนื่องจากความแตกต่างและความสลับซับซ้อนของตัวอ่อนกับน้ำเชื้อปลา ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคของการแช่แข็ง ดังนี้ ขนาดของตัวอ่อนและปริมาณถุงไข่แดงที่มีปริมาณมากซึ่งเป็นปัญหาหลักในการแช่แข็งตัวอ่อน จำนวนและความหนาของเยื่อหุ้มเซลล์ที่ล้อมรอบตัวอ่อน ประสิทธิภาพการซึมผ่านของน้ำเข้าและออกภายในและนอกเซลล์ รวมทั้งชนิดของไข่ปลา เป็นต้น อุปสรรคดังกล่าวนี้มีความสำคัญส่งผลให้ตัวอ่อนปลาเกิดการบาดเจ็บจากการแช่แข็ง เช่น การเกิดผลึกน้ำแข็ง การเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่าง การช็อคจากความเย็นและความร้อน แรงดันออสโมติกและความเป็นพิษของสารป้องกันเซลล์จากการแช่แข็งที่ส่งผลต่อความสมบูรณ์และอัตราการรอดตายภายหลังจากการแช่แข็ง บทความนี้จึงได้รวบรวมปัจจัยและแนวทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประโยชน์จากการแช่แข็งตัวอ่อนปลาในการวิจัยทางการอนุรักษ์พันธุกรรม เศรษฐกิจและสังคมและการปรับปรุงสายพันธุ์ต่อไป At present, a few biotechnology research involved fish embryo cryopreservation in Thailand was reported while international journals had many publications related with fish embryo cryopreservation being reported. However, there are waiting for the success. There are a number of obstacles for cryopreservation of fish embryo including size of embryo and egg yolk quantity (the main problem in embryo cryopreservation), membrane structure, permeability of compartment barriers and type of the egg, chilling injuries phenomena during cooling and thawing process. The important concepts to support the success were demonstrated including type of cryoprotectants and their concentration, egg yolk volume, space and membrane permeability, embryonic development stage, cooling, thawing rate and equilibration time. These factors should be studied for further development of fish embryo cryopreservation.Downloads
Issue
Section
Articles