การเสริมไลซีนและเมไทโอนีนในอาหารปลากะพงขาว กุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไมระยะวัยรุ่นที่ใช้แหล่งโปรตีนทางเลือกในอัตราสูง

Authors

  • พิเชต พลายเพชร
  • ปิยารมณ์ คงขึม
  • ธนิกานต์ บัวทอง
  • สกนธ์ แสงประดับ

Keywords:

ไลซีน, เมไทโอนีน, ปลากะพงขาว, กุ้งกุลาดำ, กุ้งขาวแวนนาไม, Lysine, methionine

Abstract

          ศึกษาการเสริมไลซีนและเมไทโอนีนในอาหารปลากะพงขาว กุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไมระยะวัยรุ่นที่ใช้แหล่งโปรตีนทางเลือกในอัตราสูง การทดลองในปลากะพงขาว อาหารสูตรควบคุมใช้ปลาป่น 35% และแหล่งโปรตีนทางเลือก 39% (สูตร 1) และอาหารทดสอบอีก 4 สูตร ที่ใช้ปลาปน 10% และแหล่งโปรตีนทางเลือก 71% ที่เสริมไลซีน และ เมไทโอนีนสังเคราะห์ 4 รูปแบบ คือ ไม่เสริม (สูตร 2) เสริมไลซีนและเมไทโอนีนในอัตราที่ทำให้มีปริมาณเท่ากับที่พบ ในอาหารสูตรควบคุมหรือเรียกว่าอัตราการเสริมปกติ (สูตร 3) เสริมในอัตรา 1.25 เท่าของอัตราการเสริมปกติ (สูตร 4) และเสริมในอัตรา 1.50 เท่าของอัตราการเสริมปกติ (สูตร 5) ตามลำดับ เลี้ยงปลาที่มีน้ำหนักเริ่มต้น 10 กรัม ด้วยอาหารแต่ละสูตรๆ ละ 3 ซ้ำ แบบกินจนอิ่ม วันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร 5 มีอัตราเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราแลกเนื้อ ประสิทธิภาพการใช้โปรตีนจากอาหารและต้นทุนค่าอาหาร ไม่แตกต่างจากปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุม (p>0.05) แต่ดีกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) ขณะที่อัตรารอดตายและปริมาณอาหารที่กินของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารทุกสูตรไม่แตกต่างกัน (p>0.05) การทดลองในกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไม อาหารสูตรควบคุมใช้ปลาป่น 25 และ 20% ตามลำดับ และใช้แหล่งโปรตีนทางเลือก 40% ขณะที่อาหารทดสอบของกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไมอีก 4 สูตร ใช้ปลาป่น 10 และ 5% ตามลำดับ ใช้แหล่งโปรตีนทางเลือก 61% และเสริมไลซีนและเมไทโอนีนรูปแบบเดียวกับปลากะพงขาว เลี้ยงกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไมที่มีน้ำหนักเริ่มต้น 1 และ 0.6 กรัม ตามลำดับ ด้วยอาหารทดลองแต่ละสูตร 3 ซ้ำ วันละ 6 % ของน้ำหนักตัว แบ่งให้ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่ากุ้งทั้งสองชนิดที่เลี้ยงด้วยอาหารทุกสูตรมีอัตราเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราแลกเนื้อ ประสิทธิภาพการใช้โปรตีนจากอาหาร ต้นทุนค่าอาหาร อัตรารอดตายและปริมาณอาหารที่กินไม่แตกต่างกัน (p>0.05)           Supplementation with lysine and methionine in high alternative protein based diets of juvenile Asian sea bass, giant tiger shrimp and Pacific white shrimp were studied. In Asian sea bass trial, control diet contained 35% fishmeal and 39% alternative protein sources (diet 1). Other four test diets contained 10% fishmeal and 71% alternative protein sources supplemented with synthetic lysine and methionine by four regimes consisted of non-supplemented (diet 2) supplemented with rate to meet dietary amounts found in control diet or called normal supplementation rate (diet 3) supplemented higher than normal rate by 1.25 times (diet 3) and by 1.50 times (diet 4), respectively. Three fish groups, approximately 10 g were fed each diet to an apparent satiation by three times a day for 8 weeks. Non-significant differences of specific growth rate (SGR), feed conversion ratio (FCR), protein efficiency ratio (PER) and feed cost (FC) were observed between fish fed diet 5 and control diet (p>0.05), but showed highly significant higher than those of fish fed other diets (p<0.01). Non-significant differences of survival rate (SR) and feed intake (FI) were observed among fish fed all test diets (p>0.05). In giant tiger shrimp and Pacific white shrimp trials, control diets contained 25 and 20% fishmeal, respectively and equally contained 40% alternative protein sources. Other four test diets contained 10 and 5% fishmeal, respectively and equally contained 61% alternative protein sources supplemented with lysine and methionine by regimes as did in Asian sea bass trial. Three groups of both giant tiger shrimp and Pacific white shrimp, approximately 1 and 0.6 g, respectively were fed each diet by 6% of body weight a day divided into three times for 8 weeks. The results showed that non-significant differences of SGR, FCR, PER, FC, SR and FI were observed among both shrimp fed all test diets (p>0.05).

Downloads