ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลปลานิลแปลงเพศ (Oreochromis niloticus) ในกระชังอวนมุ้งแบบให้อากาศจนได้ขนาดน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 30 กรัม

Authors

  • พิเชต พลายเพชร

Keywords:

ความหนาแน่น, ปลานิลแปลงเพศ, กระชังอวนมุ้ง, การให้อากาศ

Abstract

          ศึกษาความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลปลานิลแปลงเพศ (Oreochromis niloticus) ในกระชังอวนมุ้งแบบให้อากาศจนได้ขนาดน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 30 กรัม ทดลองในกระชังความจุ 1 ลูกบาศก์เมตรที่แขวนในบ่อดินขนาด 300 ตารางเมตร ทดสอบความหนาแน่น 5 ระดับ คือ 100, 150, 200, 250 และ 300 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เลี้ยงปลาด้วยอาหารที่มีจำหน่ายในท้องตลาดแบบให้กินจนอิ่ม วันละ 3 ครั้ง โดยให้อาหารที่มีโปรตีน 40% ในช่วง 30 วันแรก และให้อาหารที่มีโปรตีน 30% ในช่วง 30 วันสุดท้าย ผลการทดลองพบว่าระยะเวลาที่ทำให้ปลาที่อนุบาลทุกความหนาแน่น มีน้ำหนักเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30 กรัม คือ 60 วัน ปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่น 100 และ 150 ตัว/ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนักสุดท้าย ความยาวสุดท้ายและอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่มีค่าสูงกว่าปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่นอื่นๆ (p<0.01) ขณะที่อัตรารอดตายและอัตราการกินอาหารของปลาที่อนุบาลทุกความหนาแน่น ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) การอนุบาลด้วยความหนาแน่น 100 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ทำให้ปลาเจริญเติบโตจนมีน้ำหนักเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30 กรัม เร็วที่สุดคือ 45 วัน และทำให้ได้ร้อยละของปลาที่มีขนาดน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 30 กรัม สูงกว่าปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่นอื่นๆ (p<0.01) ดังนั้น ความหนาแน่น 100 ตัว/ลูกบาศก์เมตร มีความเหมาะสมสำหรับการอนุบาลปลานิลแปลงเพศจนได้ขนาดน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 30 กรัม ในแง่การประหยัดระยะเวลาและผลผลิต           Optimum stocking density of nursing sex reversal Nile tilapia (Oreochromis niloticus) in hapa with aeration to reach at least 30 gram size was studied. Experiment was conducted by using 1-m3 hapa hung in 300-m2 earthen pond. Fives stocking densities of 100, 150, 200, 250 and 300 fish/m3, respectively were tested. Fish was fed with commercial feed to an apparent satiation by three times a day using 40%P feed for first 30 days and 30%P feed for last 30 days. Culture period made fish nursed with all stocking density reached average weight at least 30 grams, was shown as 60 days. Non – significant differences of final weight and length, also specific growth rate were observed between fish nursed with stocking densities of 100 and 150 fish/m3 (p>0.05), but higher than those of fish nursed with other stocking densities (p<0.01). Non-significant differences of survival rate and feed intake of fish nursed with all stocking density were observed (p>0.05). Nursing with stocking density of 100 fish/m3 made fish grew to at least 30 grams with the fastest times of 45 days and yielded higher percentage of at least 30 gram size than fish nursed with other stocking densities (p<0.01). Therefore, stocking density of 100 fish/m3 was optimum for nursing sex reversal Nile tilapia to reach at least 30 gram size in terms of saving time and productivity.

Downloads