การชักนำให้เกิดแคลลัสและการตรวจสอบหาระดับพลอยดีจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของหยาดน้ำค้าง (Drosera indica L.) ในสภาพปลอดเชื้อ

Authors

  • ชาตรี ตุ้มคำ
  • ศิรศาธิญากร จันทร์ขศิราพร

Keywords:

แคลลัส, โคลชิซิน, โพลไซโทรมิเตอร์, พลอยดี, หยาดน้ำค้าง

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชักนำให้เกิดแคลลัสและการตรวจสอบหาระดับพลอยดีจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของหยาดน้ำค้าง (Drosera indica L.) ในสภาพปลอดเชื้อ โดยเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนใบของหยาดน้ำค้างบนอาหารสูตร ½ MS (Murashige and Skoog, 1962) ที่เติม BA และ NAA ในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ จากการทดลองพบว่า ชิ้นส่วนใบที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร ½ MS ที่เติม BA 0.5 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ดี โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดแคลลัส และน้ำหนักสดของแคลลัสมากที่สุด และชิ้นส่วนใบที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 1.0 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l มีการชักนำให้เกิดยอดจากชิ้นส่วนแคลลัสมากที่สุด จากนั้นนำแคลลัสที่ได้มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร ½ MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เพื่อชักนำให้เกิดยอดใหม่ นำยอดมาตัดแบ่งเพื่อให้ได้ชิ้นส่วนข้อขนาด 2 ± 0.2 เซนติเมตร แล้วนำมาจุ่มแช่ในอาหารเหลวสูตร ½ MS ที่เติมสารละลายโคลชิซีน ความเข้มข้น 0, 0.1, 0.5, และ 1.0 mg/l เป็นระยะเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้นส่วนข้อไปเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร ½ MS เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ชิ้นส่วนข้อที่จุ่มแช่ในอาหารเหลวสูตร ½ MS ที่ไม่มีการเติมโคลชิซีน มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด และจะเห็นได้ว่าเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตลดลงเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของโคลชิซีนและระยะเวลาการจุ่มแช่ที่มากขึ้น และเมื่อวิเคราะห์ระดับพลอยดีด้วยเครื่องโฟลไซโทรมิเตอร์ พบว่า ในทุกชุดการทดลองมีจำนวนโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ ซึ่งเมื่อนำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มาย้ายปลูกในพีทมอสร่วมกับสแฟคนัมมอสในอัตราส่วน 1 : 2 เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าต้นกล้ามีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงที่สุด           The purpose of this study was to induce callus and determine ploidy level from tissue culture of Drosera indica L. in sterile conditions. The leaf explants of Sundew were cultured on ½ MS (Murashige and Skoog, 1962) media supplemented with BA and NAA at different concentrations for 4 weeks. From the results, it was found that leaf explants cultured on ½ MS media containing 0.5 mg / l BA with NAA 0.1 mg / l could induce callus well and gave the highest callus induction percentage and callus fresh weight. On the other hand, leaf explants cultured on MS media supplemented with 1.0 mg / l BA in combination with 0.1 mg / l NAA had the highest number of shoot induction from callus. Then, the callus was cultured on ½ MS media without plant growth regulators for 4 weeks to induce new shoot. After that, cut the shoot to get the node explant size 2 ± 0.2 cm, then dipped in the ½ MS liquid media with the addition of 0, 0.1, 0.5, and 1.0 mg / l colchicine at period of 24, 48 and 72 hours. Then node explants were cultured on ½ MS solid media for 4 weeks. It was found that node explants immersing in liquid MS media without adding colchicine had the  highest survival percentage. Furthermore, it could be seen that the survival percentage decreased as the concentration of colchicine increased as well as the immersion period   increased. When analyzing ploidy levels with the flow cytometry technique, it was found that there were a number of chromosomes in the diploid. Then, the seedlings from tissue   culture were transplanted in peat moss together with the sphagnum moss in the ratio of 1: 2   for 4 weeks. The result showed that seedlings had the highest survival percentage.

Downloads