การประเมินประสิทธิภาพการระบายอากาศภายในห้องสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

Authors

  • ลิขิต น้อยจ่ายสิน
  • สุวพิชชา พิษณุพงควิชชา

Keywords:

คุณภาพอากาศ, อากาศภายในอาคาร, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, การระบายอากาศ

Abstract

         การระบายอากาศในอาคารเป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพอากาศ และการสะสมของสารมลพิษทางอากาศซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ภายในอาคาร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการระบายอากาศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว โดยการใช้ความเข้มข้นของ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสม ในแต่ละช่วงเวลาเป็นตัวบ่งชี้ และคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงของอากาศต่อชั่วโมง (ACH) พื้นที่ศึกษาแบ่งเป็น 4 โซน 1) พื้นที่ของเคาน์เตอร์จำหน่ายหนังสือและห้องพนักงาน 2) พื้นที่ มี 7 ชั้นหนังสือทำด้วยไม้ 3) พื้นที่มีตู้หนังสืออลูมิเนียม 8 ชั้นและชั้นวางหนังสือ 15 ชั้น 4) ห้องคอมพิวเตอร์ ตั้งอยู่ตรงกลางของห้องสมุดมีทางเข้า – ออก เพียงทางเดียว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยที่พบมากที่สุดในโซนที่ 4 (1,905 ppm) รองลงมาคือโซนที่ 1 (1,882 ppm), โซนที่ 2 (1,005 ppm) และโซนที่ 3 (812 ppm) ตามลำดับ ค่า ACH ที่คำนวณได้อยู่ในช่วง 0.04 - 0.18 ACH บ่งชี้ว่ามีการระบายอากาศที่ไม่เพียงพอและได้รับการยืนยันโดยการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นใน ทุกโซนที่ทำการศึกษา           Indoor-air ventilation is a factor influencing air quality and accumulation of air pollutants which can pose health risk on human living in the building. This research aimed    to study the efficiency of air ventilation in the Library of Burapha University, Sakaeo campus by applying carbon dioxide concentration accumulated in each period as an indicator. Air    change rate per hour (ACH) was also calculated. The studied area was divided as 4 zones; 1) area of book circulation counter and staff room, 2) area with 7 wooden bookshelves, 3) area  with 8 aluminum bookshelves and 15 wooden bookshelves and 4) computer room located in the middle of the library with only one entrance. The results showed that the highest average carbon dioxide concentration found in zone 4 (1,905 ppm) followed by zone 1 (1,882 ppm), zone 2 (1,005 ppm), and zone 3 (812 ppm) respectively. The calculated ACH was in the range of 0.04 – 0.18 ACH indicating an inadequate ventilation and hence being   confirmed by elevated carbon dioxide accumulation in all studied zones.

Downloads