กรณีศึกษาการตรวจหาปริมาณสารฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในอาหารทะเลสดจากตลาดสดในจังหวัดที่ห่างไกลจากพื้นที่ชายฝั่งทะเล
Keywords:
สารฟอร์มาลิน, อาหารทะเลสด, ตลาดสด, วิธี High Performance Liquid ChromatographyAbstract
อาหารทะเลสดมีมูลค่าทางเศรษฐกิจและได้รับความนิยมในการบริโภคเป็นอย่างมากในประเทศไทย การขนส่งโดยวิธีการแช่เย็นหรือแช่แข็ง ไปสู่จังหวัดที่ห่างไกลตามภูมิภาคต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อใช้ในการรักษาคุณภาพของอาหารให้สดตลอด อย่างไรก็ตาม ยังคงพบการปนเปื้อนสารฟอร์มาลินในอาหารซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อสุขภาพของผู้บริโภค การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการตรวจคัดกรองด้วยชุดทดสอบฟอร์มาลินร่วมกับการตรวจหาปริมาณสารฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนด้วยวิธี High Performance Liquid Chromatography (HPLC) ในอาหารทะเลสด จากตลาดสดในจังหวัดที่ห่างไกลจากพื้นที่ชายฝั่งทะเล ใน 4 ภูมิภาค รวม 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดอุบลราชธานี โดยสุ่มเก็บตัวอย่างกุ้งและหมึก จำนวน 91 ตัวอย่าง ผลการตรวจคัดกรองและปริมาณ พบการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลิน 11 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 12.09 เป็นตัวอย่างหมึก 9 ตัวอย่าง จาก 59 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15.25 และตัวอย่างกุ้ง 2 ตัวอย่าง จาก 32 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 6.25 โดยพบที่จังหวัดอุบลราชธานี 7 ตัวอย่าง จาก 15 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 46.67 พบปริมาณสารฟอร์มาลินในช่วง 1.18-4.44 ppm และพบในจังหวัดกาญจนบุรี 4 ตัวอย่าง จาก 27 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 14.82 พบปริมาณสารฟอร์มาลินในช่วง 1.04-1.38 ppm ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ไม่พบการปนเปื้อนสารฟอร์มาลินในตัวอย่าง ชี้ให้เห็นว่า มีระดับการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลินสูงที่สุดในจังหวัดอุบลราชธานี รองลงมาคือ จังหวัดกาญจนบุรี โดยพบในหมึกมากกว่ากุ้ง ดังนั้น การใช้สารฟอร์มาลินเพื่อรักษาสภาพอาหารให้สด มักพบในจังหวัดที่ห่างไกลจากพื้นที่ชายฝั่งทะเล เนื่องจากมีระยะเวลาขนส่งเป็นเวลานาน การเลือกซื้อจึงต้องมีการระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงเวลาบ่ายถึงช่วงเย็น Seafood is one of the major economic natural products and a favorite diet of Thailand. Seafood transportation is necessary for fresh preservation, especially for the province located far away from the coastal area, therefore, seafood are preserved using frozen or freeze. However, the substance of formalin was used to preserve food that cause botulism and negative effects on consumer health. In this study, aimed to screen for formalin contamination with a test kit and detected the amount of formalin contamination using High Performance Liquid Chromatography (HPLC) in seafood from fresh market in Provinces located far from the coastal area in the 4 regions of 5 Provinces; including Pathum Thani, Nakhon Sawan, Chiang Mai, Karnchanaburi and Ubon Ratchathani. Sampling random sample was designed to collect the fresh shrimp and fresh squid of 91 samples derived from provinces of Pathum Thani 12 samples from 4 shops, Kanchanaburi 27 samples from 9 shops, Nakhon Sawan 27 samples from 9 shops, Chiang Mai 10 samples from 5 shops, and Ubon Ratchathani 15 samples from 5 shops. The screening test results showed the formalin contamination in food 11 samples (12.09%) which is derived from a squid 9 samples out of 59 samples (15.25%) and 2 shrimp samples out of 32 samples (6.25%). Which was found in Ubon Ratchathani 7 from 15 samples representing for 46.67%. The formalin quantity ranged between 1.18-4.44 ppm and found in Kanchanaburi 4 from 27 samples, representing for 14.82% with the formalin quantity varied from 1.04-1.38 ppm while the other provinces had not contaminate of formalin in the samples. The results indicated that Ubon Ratchathani Province showed more frequency of formalin contaminated followed by Kanchanaburi Province in which was found in fresh squid more than fresh shrimp. Therefore, the preservation using formalin often found in the province far from the coastal area. Because of a prolonged period of transportation as a result, buying must be very careful especially in the afternoon to the evening.Downloads
Issue
Section
Articles