การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะต่ออิมมูโนโกลบูลินของปลากะพงขาว

Authors

  • ธนพนธ์ สุนทรสีมะ
  • ประดิษฐ์ หวังมาน
  • ชลินันท์ เพ็งสุข
  • ไพศาล สิทธิกรกุล
  • ศิวาพร ลงยันต์

Keywords:

โมโนโคลนอลแอนติบอดี, ปลากะพงขาว, อิมมูโนโกลบูลิน, ดับเบิลอิมมูโนดิฟฟิวชั่น, เวสเทิร์น บล็อท

Abstract

         การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะต่ออิมมูโนโกลบูลิน (Ig) ของปลากะพงขาว ทำโดยการปลูกภูมิคุ้มกันปลาด้วยโปรตีน Bovine serum albumin (BSA) จากนั้นนำซีรัมปลาที่ได้ไปตกตะกอนกับ BSA ด้วยวิธี immunoprecipitation นำตะกอน Ig/BSA complex ที่ได้ไปปลูกภูมิคุ้มกันในหนูขาว แล้วคัดเลือกหนูที่ตอบสนองต่ออิมมูโนโกลบูลินของปลาดีที่สุดไปผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี หลังการหลอมรวมเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวกับบีเซลล์ของหนู ทำการคัดเลือกเซลล์ลูกผสม ที่ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะกับอิมมูโนโกลบูลินด้วยวิธี dot blot และ Western blot สามารถเลือกเซลล์ลูกผสมได้ 3 โคลนที่สามารถหลั่งแอนติบอดีที่จำเพาะต่ออิมมูโนโกลบูลินสายยาวขนาดประมาณ 80 กิโลดาลตันของปลากะพงขาว คือ 4C7, 6H7 และ 15C8 โดยโคลน 4C7 แสดงปฏิกิริยาข้ามกับอิมมูโนโกลบูลินของปลานิลได้เล็กน้อย          Production of monoclonal antibodies (MAbs) specific to Asian sea bass immunoglobulin (Ig) was prepared by peritoneal injection the Asian sea bass with Bovine serum albumin (BSA) first. Then the fish anti-BSA antiserum was used to precipitate with BSA by immunoprecipitation method. The Ig/BSA complex was then immunized into mice. The mouse that showed the strongest immune response against Asian sea bass Ig was used for monoclonal antibody production. After fusion of myeloma with B cells of mice, 3 hybridoma clones (4C7, 6H7 and 15C8) producing monoclonal antibody specific to heavy chain (~80 kDa) of Asian sea bass Ig were selected by dot blot and Western blot, however the MAb (4C7) showed slightly cross reaction with tilapia serum.

Downloads