ผลกระทบของสภาวะความแห้งแล้งในระบบนิเวศอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ต่อการเพิ่มปริมาณของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดที่มีความเป็นพิษ

Authors

  • จีรยา ม่วงสีงาม
  • จารุมาศ เมฆสัมพันธ์
  • รภัชร์ เม่งช่วย

Keywords:

สภาวะความแห้งแล้ง, แพลงก์ตอนพืช, สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน, สาหร่ายชนิดพิษ, ปริมาณน้ำเก็บกัก, อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์

Abstract

          การศึกษาสภาวะความแห้งแล้งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางชนิด และความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการในพื้นที่ตัวแทน 3 พื้นที่ ประกอบด้วยพื้นที่รับน้ำตอนบน (ลำน้ำพอง) พื้นที่ตอนกลาง (บ้านโนนสว่าง บ้านท่าลาด และ บ้านโป่งสัง) และพื้นที่เลี้ยงปลาในกระชัง (บ้านหนองกุงเซิน) โดยทำการศึกษาในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นปีที่มีปริมาณน้ำเก็บกักภายในอ่างเก็บน้ำ อยู่ที่ระดับ ต่ำมาก ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงที่ปริมาณน้ำเก็บกักลดลงจาก 47% เป็น 39% (เดือนเมษายนถึงมิถุนายน) พบ ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชโดยรวมในพื้นที่ตอนบนสูงขึ้นประมาณ 6 เท่า (จาก 6,993 เป็น 42,153 cells/L) พื้นที่ตอนกลางมีค่าสูงขึ้น 3.4 เท่า (จาก 14,237-54,285 เป็น 69,032-127,694 cells/L) ขณะที่พื้นที่บริเวณที่มีการเลี้ยงปลาในกระชัง (ซึ่งมีค่าเดิมสูงอยู่แล้ว) ได้สูงขึ้นอีกประมาณ 1.7 เท่า (จาก 61,554 เป็น 106,232 cells/L) และมีค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง 189,922 cells/L ในช่วงที่ปริมาณน้ำเก็บกักลดลงถึงระดับต่ำสุด (30%) ผลการศึกษาแพลงก์ตอนพืชในกลุ่มสาหร่าย สีเขียวแกมน้ำเงินที่มีความเป็นพิษ พบ Microcystis sp. เป็นชนิดเด่น มีการเพิ่มความหนาแน่นตามเวลา โดยมีความหนาแน่นสูงสุดเท่ากับ 61,807 cells/L ในพื้นที่บ้านหนองกุงเซิน ในช่วงที่ปริมาณน้ำเก็บกักลดลงถึงระดับต่ำสุด ขณะที่บางชนิด (Anabaena sp.) มีแนวโน้มของความหนาแน่นที่ต่ำลง ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่าสภาวะความแห้งแล้งในระบบนิเวศ อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ สามารถส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของทั้งความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชรวม และความหนาแน่น ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดที่มีความเป็นพิษ ผลการศึกษาดังกล่าวสะท้อนความจำเป็นในการเฝ้าระวังและ การหาแนวทางในการบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อไป           Study on impacts of drought condition on change of species composition and density of phytoplankton in Ubolratana reservoir was carried out in 3 representative areas of the upper zone (Phong River), the middle zone (Non Sawang, Tha Lat, and Pong Sang Districts), and the aquaculture zone (Nong Kung Soen District) during April to October 2018 when the water storage volumes in the reservoir was very low. The result showed that during the decreases of water storage in 2018 (from 47% to 39% from April to June), total densities of phytoplankton in the upper zone had increased ca 6 times (from 6,993 to 42,153 cells/L). Total densities in the middle zone had increased 3.4 times (from 14,237-54,285 to 69,032-127,694 cells/L), while those in the aquaculture zone (normally found in high levels) had increased 1.7times (from 61,554 to 106,232 cells/L). Densities in the aquaculture zone had continuously increased to reach the highest level of 189,922 cells/L when the water storage volume decreased to the lowest level of 30%. The results on changes in toxic cyanobacteria abundance indicated the dominance of Microcystis sp. that had increased along the times. The highest Microcystis density of 61,807 cells/L was found at Nong Kung Soen District when the water storage volume decreased to the lowest level. Some toxic cyanobacteria (Anabaena sp.), nevertheless, seemed to be slightly decreased. The overall results have revealed that the drought condition in 2018 in the Ubolratana reservoir ecosystem had impacted either on the increments of total phytoplankton or the toxic cyanobacteria species. Such phenomena implied the necessary in ecosystem monitoring and conservation through development of schematic approach on water management for suitable storage level.

Downloads