การหาตัวแบบที่เหมาะสมเพื่อพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำประปาในจังหวัดอุบลราชธานี
Keywords:
การใช้น้ำประปา, การพยากรณ์, บอกซ์-เจนกินส์, ตัวแบบผสม, จังหวัดอุบลราชธานีAbstract
ปริมาณการใช้น้ำประปาของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำประปาของประชาชนโดยใช้ตัวแบบที่เหมาะสมและมีความแม่นยำจึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในวางแผนและหามาตรการรองรับกับสถานการณ์การใช้น้ำประปาที่เพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างตัวแบบที่เหมาะสมกับอนุกรมเวลาปริมาณการใช้น้ำประปาของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 4 สาขา ได้แก่ สาขาอุบลราชธานี สาขาพิบูลมังสาหาร สาขาเดชอุดม และสาขาเขมราฐ โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของการประปาส่วนภูมิภาค ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 168 ค่า ข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ข้อมูลชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 156 ค่า ใช้สำหรับสร้างตัวแบบการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาเชิงเดี่ยวตามวิธีการของบอกซ์- เจนกินส์ และตัวแบบผสมระหว่างเทคนิคของบอกซ์-เจนกินส์กับเทคนิคซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชัน ข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2560 จำนวน 12 ค่า ใช้สำหรับเปรียบเทียบความแม่นยำของการพยากรณ์แต่ละสาขา โดยใช้เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Error : MAE) และเกณฑ์ร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Percent Error : MAPE) ผลการวิจัย พบว่า ตัวแบบผสมมีความแม่นยำในการพยากรณ์มากกว่าตัวแบบการพยากรณ์เชิงเดี่ยว เนื่องจากมีค่า MAE และ MAPE ต่ำสุด ดังนั้น ตัวแบบผสมสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำประปาของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีได้อย่างเหมาะสม และสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจสำหรับการวางแผนการจัดการน้ำประปาให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในอนาคตได้ At present, water supply consumption in Ubonratchathani province is increasing. Forecasting water consumption of people using appropriate and accurate model is very important and useful for planning the measures to support the increased use of water supply. The purpose of this research was to construct a model suitable for the time series of water consumption of people in Ubonratchathani province in 4 stations, including Ubonratchathani Station, Phipun mangsahan Station, Det Udom Station, and Khemarat Station. The data of 168 values were obtained from the website of Provincial Waterworks Authority from January 2004 to December 2017. The data were divided into two sets. Set 1 was the data from January 2004 to December 2016, of which 156 values were used for constructing univariate time series based on the method of Box – Jenkins and the hybrid model of the technique of Box – Jenkins and support vector regression. Set 2 was the data from January to December 2017, of which 12 values were used for the comparison of the accuracy of forecasting of each station by using Mean Absolute Error (MAE) and Mean Absolute Percent Error (MAPE). The results showed that the hybrid model was more accurate in forecasting than a single model due to the lowest MAE and MAPE values. The hybrid model can be used as a tool to forecast the amount of water supply of people in Ubon Ratchathani Province appropriately. It can also be used for decision making for planning water supply management to meet the needs of people in the future.Downloads
Issue
Section
Articles