การใช้ดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของป่าปลูกในลุ่มน้ำแม่ตาวที่ทำเหมืองแร่สังกะสี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Authors

  • ศุภกานต์ ธิเตจ๊ะ
  • สุนทร คำยอง
  • อัมรินทร์ บุญตัน
  • อริศรา เจริญปัญญาเนตร
  • พันธุ์ลพ หัตถโกศล

Keywords:

ดัชนีความแตกต่าง, พืชพรรณ, การกักเก็บคาร์บอน, ป่าปลูก, เหมืองแร่สังกะสี, การสำรวจจากระยะไกล

Abstract

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณ (NDVI) กับปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน (ACS) ของป่าปลูกเพื่อการทดแทนพื้นที่การทำเหมืองแร่สังกะสีของบริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด ในลุ่มน้ำแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประกอบด้วยป่าปลูก 2 พื้นที่ คือ อายุ 19 ปี (พ.ศ. 2543, PF1) เนื้อที่ 328 ไร่ และ 20 ปี (พ.ศ. 2542, PF2) เนื้อที่ 505 ไร่ พื้นที่เดิมเคยเป็นป่าเบญจพรรณที่มีสภาพเสื่อมโทรมจากการบุกรุกเพื่อการเกษตร การปลูกป่าใช้ไม้สักเป็นพันธุ์ไม้หลักและมีพันธุ์ไม้อื่นๆ อีกหลายชนิด ศึกษาสำรวจพรรณไม้ภาคสนามโดยการวางแปลงสุ่มตัวอย่างขนาด 40x40 ม. ชั้นอายุละ 5 แปลง รวม 10 แปลง และเก็บข้อมูลโดยวัดเส้นรอบวงลำต้นที่ระดับ 1.3 ม. จากพื้นดินของต้นไม้ ที่มีความสูง 1.5 ม. ขึ้นไปและวัดความสูงของต้นไม้ คำนวณปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือและใต้พื้นดิน (CS) โดยใช้สมการแอลโลมิทรี พบว่า PF1 และ PF2 มีค่า CS เฉลี่ย 6,477 กก./ไร่ (40.48 เมกกะกรัม/เฮกแตร์) และ 9,202 กก./ไร่ (57.51 เมกกะกรัม/เฮกแตร์) ตามลำดับ ความสัมพันธ์ของ ACS และ NDVI จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Lansat-8 แต่ละฤดูกาลในรอบ 1 ปี พบว่าค่า NDVI ของเดือนธันวาคม มีความสัมพันธ์กับ ACS มากที่สุด คือ PF1: CS = 79,029(NDVI)-16,215; R2=0.96 และ PF2: ACS = 28,687(NDVI)-517; R2=0.90 ค่า ACS ในพื้นที่ PF1 และ PF2 ทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 1,800 และ 3,800 เมกกะกรัม ตามลำดับ ดังนั้นการคัดเลือกช่วงเวลาภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับประเมิน ACS ในพื้นที่ป่าปลูกที่มีพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ผลัดใบควรจะใช้ข้อมูลในช่วงเวลาที่ต้นไม้เริ่มมีการทิ้งใบบางส่วน เพื่อให้ได้ค่า NDVI ที่เป็นตัวแทนของทั้งใบ กิ่ง และลำต้น รวมทั้ง พืชพื้นล่าง            The research objective is to study the relationship between normalized differentiation vegetation index (NDVI) and above-ground carbon storage (ACS) in biomass of two plantation forests for compensated zinc-mined land of Phadaeng Industry Co., Ltd. in Mae Tao watershed, Mae Sod district, Tak province. The plantation forests included 19- and 20-year old stands (1999, PF1; 2000, PF2) which had areas of 328 and 505 rai, respectively. The original forest was degraded mixed deciduous suffered from shifting cultivation. Teak (Tectona grandis) was planted as the main species and some other species. Five plots each (10 plots), 40x40 m2 in size were used for plant survey in the forests. Plant data were collected by measuring stem girth at 1.3 m above-ground and tree height of all tree species with the height over 1.5 m. Carbon storage in above- and below-ground biomass (CS) was measured using allometric equations. The results show that PF1 and PF2 had the CS values of 6,477 (40.48 Mg/ha) and 9,202 kg/rai (57.51 Mg/ha), respectively. The relationship between the above-ground carbon storage (ACS) and NDVI values based on Lansat-8 satellite imagery was investigated in different season during a year, and found that the data in December were the most corelated values to the ACS as PF1: ACS = 79,029(NDVI)-16,215; R2=0.96 and PF2: ACS = 28,687(NDVI)-517; R2=0.90. Thus, the total amounts of ACS in PF1 and PF2 areas were estimated to 1,800 and 3,800 Mg, respectively. The selection of satellite image for evaluating ACS in the plantations consisted of mainly deciduous trees should select the time of some falling leaves in order to receive the NDVI values as the representatives of leaves, branches, stems, and ground-covered species.

Downloads