การคาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Authors

  • วุฒิพงษ์ นิลจันทร์
  • นิติ เอี่ยมชื่น

Keywords:

แบบจำลอง CA-Markov, สมการเชิงเส้น, การคาดการณ์ไฟฟ้า, การใช้ประโยชน์ที่ดิน

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาอัตราส่วนของการใช้ไฟฟ้าช่วงปี พ.ศ. 2553, 2556 และ 2559 2) คาดการณ์การขยายตัวของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง และ 3) คาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน และอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2565 โดยนำข้อมูลสถิติปริมาณการใช้ไฟฟ้ามาคำนวณร่วมกับข้อมูลอาคารและสิ่งปลูกสร้างเพื่อหาความ สัมพันธ์ของสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าต่อพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา และวิเคราะห์การขยายตัวของอาคารและสิ่งปลูกสร้างจากแบบจำลอง CA-Markov โดยใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2556 เพื่อคาด การณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินใน พ.ศ. 2559 และได้ทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองกับการใช้ประโยชน์ที่ดินจากกรมพัฒนาที่ดินในปี พ.ศ. 2559 พบว่าค่าความถูกต้องโดยรวมเท่ากับ 91.65 และค่าสัมประสิทธิ์แคปปา 83.54% จากการวิเคราะห์การคาดการณ์ปริมาณความต้องการการใช้ไฟฟ้าใน พ.ศ. 2559 โดยแบบจำลอง CA-Markov พบว่ามีปริมาณความต้องการการใช้ไฟฟ้าเท่ากับ 10,888.76 จิกะวัตต์/ชั่วโมง เมื่อนำมาทดสอบความสัมพันธ์ กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริงของปี พ.ศ. 2559 พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.999849 ซึ่งกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปรมีค่าสูงมาก และจากการคาดการณ์ปริมาณความต้องการการใช้ไฟฟ้าปี พ.ศ. 2559 โดยใช้สมการเชิงเส้นเป็นการหาปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากค่าสถิติปริมาณการใช้ไฟฟ้ารายปีตั้งแต่ พ.ศ. 2553 – 2558 มาทำวิเคราะห์ พบว่ามีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเท่ากับ 8,556.44 จิกะวัตต์/ชั่วโมง เมื่อนำมาทดสอบความสัมพันธ์กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริงปี พ.ศ. 2559 พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.999975 ซึ่งกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์กันระหว่าง 2 ตัวแปรมีค่าสูงมาก และเมื่อคาดการณ์ปริมาณความต้องการการใช้ไฟฟ้าในอนาคตของปี พ.ศ. 2565 จากแบบจำลอง CA-Markov พบว่า มีปริมาณความต้องการการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวน 18,935.82 จิกะวัตต์/ชั่วโมง ส่วนการคาดการณ์ด้วยสมการเชิงเส้นในปี พ.ศ. 2565 พบว่ามีปริมาณความต้องการไฟฟ้าจำนวน 10,327.56 จิกะวัตต์/ชั่วโมง            The purposes of this research are to: 1) quantify the ratio of electricity consumption in 2010, 2013, and 2016, 2) forecast the expansion of urban and buildup areas and 3) predict the electricity consumption in 9 provinces of upper northern: Chiang Mai; Chiang Rai; Lamphun; Lampang; Phrae; Nan; Phayao; Mae Hong Son and Uttaradit in 2022. Electricity consumption statistics, existing urban and build up areas are conducted to meet the ratio of electricity consumption in each period. According to urban and build up areas expansion by using CA-Markov model, the land use data during 2010 - 2013 is developed in order to forecast land use in 2016. The overall accuracy of the model and land use from the Land Development Department in 2016 is 91.65% and kappa coefficient is 83.54%. As for the electricity demand forecasting in 2016 by CA-Markov model, it illustrates that the demand is 10,888.76 GW/h. The correlation coefficient between the electricity forecasting and the existing electricity consumption of 2016 is 0.999849. It can be said that the relationship between 2 variables is very high. Concerning electricity consumption prediction in 2016 by using linear equations, which calculates the electricity consumption from the statistics annual report during 2010 – 2015, it demonstrates that the electricity consumption is 8,556.44 GW/h. The correlation coefficient with electricity consumption in 2016 is 0.999975, which the relationship of two variables is very high. Regarding the electricity demand forecasting to 2022 by CA-Markov model, it is 18,935.82 GW/h. Meanwhile, the electricity consumption prediction with linear equations to 2022 is 10,327.56 GW/h.

Downloads