การขยายพันธุ์อีหลืน (Elsholtzia communis (Collett&Hemsl.) Diels) โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Authors

  • บุณณดา ยอดแก้ว
  • ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา
  • อังคณา อินตา
  • สิริพร โรจน์อารยานนท์
  • กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์
  • จิราภรณ์ ปาลี
  • ณัตฐิยา ชัยชนะ

Keywords:

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, การปรับสภาพก่อนย้ายออกปลูก, อีหลืน, BA, IBA

Abstract

          อีหลืน (Elsholtzia communis (Collett&Hemsl.) Diels) เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวไทยภูเขา ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่ นำมาใช้เป็นเครื่องเทศซึ่งมีกรดอะมิโนสูง มีสรรพคุณในการต้านไวรัสและแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ โดยทั่วไปการขยายพันธุ์อีหลืนด้วยเมล็ดนั้นมักประสบกับปัญหาการพักตัวและเมล็ดมีอัตราการงอกต่ำ ดังนั้นเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อการขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกการชักนำให้เกิดยอดจำนวนมาก โดยนำชิ้นส่วนข้อที่ได้จากต้นอ่อนอีหลืนในสภาพปลอดเชื้อมาเลี้ยงบนอาหารวุ้นสูตร MS (Murashige & Skoog, 1962) ที่เติม BA หรือ Kinetin ความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0 และ 2.0 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าอาหารวุ้นสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถ ชักนำให้เกิดยอดจำนวนมากสูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวนยอดเฉลี่ย 7.90±0.61 ยอด/ชิ้นส่วนพืช และให้ความยาวยอดเฉลี่ย 2.95±0.16 เซนติเมตร ขั้นตอนที่สองการชักนำให้เกิดราก โดยย้ายยอดที่ได้จากขั้นตอนแรกไปเลี้ยงบนอาหารวุ้นสูตร MS ที่เติม IBA หรือ NAA ความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0 และ 2.0 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าอาหารวุ้นสูตร MS ที่เติม IBA ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนำยอดให้เกิดรากได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวนรากเฉลี่ย 25.00±0.38 ราก/ ชิ้นส่วนพืช ขั้นตอนที่สาม การปรับสภาพพืชก่อนย้ายออกปลูก โดยนำต้นอ่อนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง ย้ายปลูกในวัสดุปลูก 3 สูตร ได้แก่ 1) ดิน : เวอร์มิคูไลท์ อัตราส่วน 1 : 1, 2) ทราย : แกลบ : ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1 : 1 : 1 และ 3) พีทมอส พบว่า พีทมอสให้อัตราการรอดชีวิตได้สูงสุด 90 เปอร์เซ็นต์ หลังการย้ายออกปลูกเป็นเวลา 30 วัน            Elsholtzia communis (Collett&Hemsl.) Diels is a local plant in which hill tribe people in Mae Hong Son and Chiang Mai provinces traditionally use as spices. This plant contains high amount of amino acids and has anti-viral, anti-bacterial, anti-inflammatory, and antioxidant activities. Generally, seed propagation may encounter some difficulties, including seed dormancy and low rate of seed germination. Therefore, tissue culture technique was applied for mass propagation in short time period. There were 3 steps of the technique. For the first step (shoot multiplication), in vitro nodal explants were cultured on solid MS media (Murashige and Skoog, 1962) supplemented with benzyl adenine (BA) or kinetin at 0, 0.5, 1.0 and 2.0 mg/L for 8 weeks. The results showed that MS media supplemented with 0.5 mg/L BA could induce 100% of shoot formation and provided the highest average shoot number of 7.90±0.61 shoots/explant with the average shoot length of 2.95±0.16 centimeters. The second step (root formation), shoots from first step was cultured on solid MS media supplemented with indole butyric acid (IBA) or naphthalene acetic acid (NAA) at 0, 0.5, 1.0 and 2.0 mg/L for 8 weeks. It was found that MS media supplemented with 2.0 mg/L IBA could be induce 100% root formation, and the average was 25.00±0.38 roots/explant. The last step (acclimatization), in vitro plantlets were transferred into 3 different formulas of potting mix including 1) 1: 1 of soil and vermiculite, 2) 1: 1: 1 of sand: rice husk: coconut dust, and 3) peat moss. The results revealed that peat moss was the best potting mix providing 90% of survival rate after 30 days of planting.

Downloads