ความเสียหายจากออกซิเดชันและศักยภาพรวมการต้านอนุมูลอิสระที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเปลือกสีน้ำตาลระหว่างการเก็บรักษาผลลองกอง

Authors

  • วารุณี จอมกิติชัย

Keywords:

ความเสียหายออกซิเดชัน, อนุมูลอิสระกลุ่มที่มีออกซิเจน, การต้านอนุมูลอิสระ, การเกิดสีน้ำตาล, ลองกอง

Abstract

          ความเสียหายจากออกซิเดชัน (oxidative damage) ที่เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างการสร้างอนุมูลอิสระและศักยภาพการกำจัดอนุมูลอิสระนับเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ผลไม้หลายชนิดเกิดปัญหาเปลือกสีน้ำตาลภายหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งทำให้อายุการเก็บรักษาผลสั้นลง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสียหายจากออกซิเดชันและศักยภาพรวม การต้านอนุมูลอิสระที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเปลือกสีน้ำตาลระหว่างการเก็บรักษาผลลองกอง (Lansium domesticum Corr.) โดยนำผลลองกองบรรจุในตะกร้าที่หุ้มปิดด้วยด้วยพีวีซีฟิล์ม จากนั้นเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 5 วัน สุ่มตัวอย่าง ผลลองกองมาวิเคราะห์ทุกวัน โดยวิเคราะห์การเกิดสีน้ำตาลของเปลือกผล ปริมาณอนุมูลอิสระกลุ่มที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ (reactive oxygen species: ROS) ได้แก่ อนุมูลอิสระซุปเปอร์ออกไซด์ (superoxide radical: O2•-) และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide: H2O2) วิเคราะห์ความเสียหายจากออกซิเดชันจากปริมาณมาลอนไดอัลดีไฮด์ (malondialdehyde: MDA) และอัตราการรั่วไหลของประจุ (electrolyte leakage rate: EL rate) และวิเคราะห์ศักยภาพรวมการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี ABTS DPPH และ FRAP ผลการศึกษาพบว่าการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกผลลองกองเพิ่มสูงขึ้นระหว่างการเก็บรักษา การเพิ่มขึ้นนี้สัมพันธ์กับการสร้างและการสะสมของปริมาณ ROS และ ความเสียหายจากออกซิเดชัน โดยทั้งปริมาณ O2•- H2O2 MDA และอัตราการรั่วไหลของประจุเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ในขณะที่ศักยภาพรวมการต้านอนุมูลอิสระของเปลือกผลลองกองที่วิเคราะห์ทั้ง 3 วิธีมีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับการเกิดสีน้ำตาลและความเสียหายจากออกซิเดชัน ที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บรักษา ศักยภาพรวมการต้านอนุมูลอิสระของเปลือกผลลองกองที่ลดลงนี้นำไปสู่การสะสมอนุมูลอิสระและความเสียหายออกซิเดชันของเยื่อหุ้มเซลล์ และส่งผลให้ผลลองกองเกิดเปลือกสีน้ำตาลระหว่างการเก็บรักษา            Oxidative damage occurred from an imbalance between the production of free radicals and the capacity of the antioxidant defense mechanism, is a cause of browning problem in many post harvested fruits that reduce in shelf life. The objective of this research was to study the oxidative damage and total antioxidant capacity involved in pericarp browning during storage of longkong fruit (Lansium domesticum Corr.). Longkong fruits were packed in basket and wrapped with PVC film, then stored at room temperature for 5 days. The fruits were randomized every day to analyze the pericarp browning, reactive oxygen species (ROS) including superoxide radical (O2•-) and hydrogen peroxide (H2O2) content, oxidative membrane damage from malondialdehyde (MDA) content and electrolyte leakage (EL) rate and total antioxidant capacity by 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging, 2,2’-azinobis (3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid) (ABTS) radical scavenging and ferric ion reducing antioxidant power (FRAP) methods. The results showed that pericarp browning increased during storage of longkong fruit. This increase coincided with the production and accumulation of ROS contents both O2•- and H2O2 and oxidative membrane damage measured by MDA content and EL rate. Whereas, all of 3 methods for the total antioxidant capacity analysis of longkong fruit tended to decrease and was consistent with pericarp browning and oxidative damage during storage. The decline in total antioxidant capacity leads to an increase in ROS accumulation and oxidative membrane damage as well as subsequent pericarp browning during storage of longkong fruit.

Downloads