การศึกษาชีวประวัติของไรน้ำสามชนิด (Cladocera : Moinidae) ในประเทศไทยในห้องปฏิบัติการ

Authors

  • เมธาวี รอตมงคลดี
  • วราห์ เทพาหุดี
  • นุกูล แสงพันธุ์

Keywords:

ชีววิทยา, ไรแดงเล็ก, ไรแดง, ไรแดงสยาม, ไรน้ำ

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบชีววิทยาของไรน้ำที่มีการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ คือ ไรแดง (Moina macrocopa) และไรแดงสยาม (Moina siamensis) กับไรน้ำที่พบในธรรมชาติ คือ ไรแดงเล็ก (Moina micrura) โดยแยกชนิดของไรน้ำและเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า ไรน้ำทั้ง 3 ชนิดมีลูกครอกแรกเมื่ออายุ 2 วัน ไรแดงเล็กมีจำนวนครอกต่อแม่และจำนวนลูกต่อแม่น้อยกว่าไรแดงสยามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับไรแดง (P > 0.05) จำนวนลูกต่อครอกของไรแดงเล็ก (10.9 ± 2.08 ตัวต่อครอก, n = 10) และไรแดงสยาม (8.7 ± 2.45 ตัวต่อครอก, n = 10) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ไรแดงมีจำนวนลูกต่อครอก (16.5 ± 4.45 ตัวต่อครอก, n = 10) สูงกว่าไรน้ำชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ไรแดงสยามมีอายุ (8.7 ± 1.70 วัน, n = 10) ยาวนานกว่าไรแดงเล็ก (5.4 ± 1.17 วัน, n = 10) และไรแดง (5.3 ± 1.16 วัน, n = 10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ไรแดงมีความยาวลำตัวสูงสุด (500 - 1,500 ไมโครเมตร) และไรแดงเล็กมีความยาวลำตัวต่ำสุด (200 - 850 ไมโครเมตร) (P < 0.05) อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของไรแดงสูงกว่าไรแดงสยามและไรแดงเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ไรแดงเล็กมีลักษณะทางชีววิทยา ไม่แตกต่างกับไรน้ำที่มีการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ และไรแดงเล็กมีขนาดเล็กกว่าไรน้ำชนิดอื่นจึงเหมาะในการใช้เป็นอาหารในการอนุบาลลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน            Life histories of commercial water fleas, Moina macrocopa and Moina siamensis, and natural water flea Moina micrura were compared. Specimens were isolated, cultured separately in the laboratory and observed until the animals died. Life history parameters showed that all three species matured to adulthood within 2 days. M. micrura had the lowest number of broods and total number of offspring per female, significantly different from M. siamensis (P < 0.05) but not significantly different from M. macrocopa (P > 0.05). Number of offspring per brood was not significantly different (P > 0.05) between M. micrura at 10.9 ± 2.08, n = 10 and M. siamensis at 8.7 ± 2.45, n = 10, with greatest number of offspring per brood observed in M. macrocopa at 16.5 ± 4.45, n = 10 (P < 0.05). M. siamensis   had a significantly longer lifespan (8.7 ± 1.70 days, n = 10) than M. micrura (5.4 ± 1.17 days, n = 10) and M. macrocopa (5.3 ± 1.16 days, n = 10) (P < 0.05). Largest body length was measured in M. macrocopa (500 - 1,500 μm) with the smallest specimen recorded in M. micrura (200 - 850 μm) (P < 0.05). M. macrocopa had higher specific growth rate than other species (P < 0.05). Results suggested that M. micrura, with smallest body length compared to the other two species, had similar characteristic traits to commercial water fleas as an appropriate feedstuff for new-born aquatic larvae.

Downloads