ลักษณะกายวิภาคและเส้นใยของใบเตยหอมและเตยทะเล

Authors

  • สุทธิรัตน์ ขาวปากรอ
  • กรรณิการ์ ธีระกิตติ์ธนากุล
  • สมนึก ลิ้มเจริญ
  • สุนทร โต๊ะดา
  • อมลวรรณ ยอดรัก
  • ปิยวรรณ ไกรนรา

Keywords:

กล้องจุลทรรศน์, อิเล็กตรอนแบบส่องกราด, การผลิตเยื่อและกระดาษ, เส้นใยจากการแยกเซลล์, การแช่ฟอก

Abstract

          การศึกษากายวิภาคและเส้นใยของใบเตยหอมและเตยทะล โดยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบเชิงประกอบและภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่า ลักษณะเซลล์ผิวใบ ผิวใบด้านบนและด้านล่าง การพบผลึกรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนในชั้นไฮโปเดอร์มิส การพบการกระจายของผลึกรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า ลักษณะตุ่มรูปร่างกลมบนเซลล์ผิวใบและบนปากใบ เป็นลักษณะที่ใช้ในการจำแนกความแตกต่างระหว่างชนิดได้ เส้นใยเดี่ยวที่ได้จากวิธีการแยกเซลล์มีรูปร่างเรียวยาว ส่วนปลายมีลักษณะปลายแหลม จากการศึกษาเส้นใยที่ผ่านการแช่ฟอกด้วยวิธีต่าง ๆ (การแช่ฟอกด้วยน้ำ การแช่ฟอกด้วยสารเคมี โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 2 และ 5 สำหรับเตยหอม และความเข้มข้นร้อยละ 10 และ 15 สำหรับเตยทะเล) พบว่า ใบเตยทะเลจะให้ร้อยละปริมาณเส้นใยมากกว่าใบเตยหอมในทุกการทดลอง และเส้นใยที่ได้จากการแช่ฟอกด้วยน้ำมีร้อยละปริมาณเส้นใยมากกว่าการแช่ฟอกด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ เส้นใยจะมีความกว้าง ความยาวของเส้นใยและหนาของผนังเซลล์ลดลงเมื่อความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เพิ่มสูงขึ้น คุณสมบัติของเส้นใยคำนวณจากค่า Runkel ratio ค่า felting rate (slenderness) และค่า flexibility coefficient เพื่อประเมินความเหมาะสมของเส้นใยในการนำไปใช้ผลิตเยื่อและกระดาษ โดยพบว่า เส้นใยเตยหอมที่ผ่านการแช่ฟอกด้วยน้ำและโซเดียมไฮดรอกไซด์ทุกความเข้มข้นมีความเหมาะสมในการผลิตเยื่อและกระดาษ             The anatomical and fiber characteristics of Pandanus amaryllifolias Roxb. and P. odorifer (Forssk.) Kuntze (Pandanaceae) leaves were examined comparatively using a compound light microscope and a scanning electron microscope (SEM) in order to assess the value of anatomical features in species identification and classification. The characters of diagnostic importance are epidermal cell shape, the differentiation of the adaxial epidermis and abaxial epidermis, the occurrence of rhombic crystal in the hypodermis, the distribution of cubical crystals, the papillae on the epidermal cells, and the stomatal complex. The macerated fiber was slender shape with pointed end. The fibers were extracted using different methods (water retted, 2%, 5% sodium hydroxide retted for P. amaryllifolias and 10%, 15% sodium hydroxide retted for P. odorifer) and their fiber yield and fiber characteristic were investigated. The result revealed that all methods of P. odorifer had more fiber yield than P. amaryllifolias. Moreover, the water retted method had more fiber yield than sodium hydroxide retted method. The fiber length, fiber width and cell wall thickness were decreased as more concentration sodium hydroxide were used. The fiber characteristics were measured to determine Runkel ratio, felting rate (slenderness) and flexibility coefficient to evaluate the suitability for pulp and paper making. The result revealed that fibers of P. amaryllifolias using all methods were suitable for pulp and paper production.

Downloads