การประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการปลูกอ้อยในจังหวัดบุรีรัมย์
Keywords:
การประเมินวัฏจักรชีวิต, การปล่อยก๊าซ, ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์Abstract
งานวิจัยนี้ ศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากกระบวนการผลิตอ้อยของกลุ่มชาวไร่ ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของกระบวนการผลิตอ้อยใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวและขนส่ง ซึ่งวิธีผลิตอ้อยมี 2 แบบ ได้แก่ การปลูกอ้อยใหม่และการปลูกอ้อยตอ ส่วนการเก็บเกี่ยวมี 3 รูปแบบ ได้แก่ การตัดอ้อยไฟไหม้ การตัดอ้อยตัดสดแบบเผาใบอ้อยหลังตัด และการตัดอ้อยตัดสดแบบไม่เผาใบอ้อยหลังตัด จากผลการวิจัยพบว่า อ้อยตอ (อ้อยตัดสดแบบเผาใบอ้อยหลังตัด) มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าสูงสุดเท่ากับ 532.19 kgCO2eq/ton รองลงมาได้แก่ อ้อยตอ (อ้อยไฟไหม้), อ้อยปลูกใหม่ (อ้อยตัดสดแบบเผาใบอ้อยหลังตัด), อ้อยปลูกใหม่ (อ้อยไฟไหม้) และอ้อยปลูกใหม่ (อ้อยตัดสดแบบไม่เผาใบอ้อยหลังตัด) มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าเท่ากับ 524.91, 436.58, 429.29 และ 60.82 kgCO2eq/ton ตามลำดับ ส่วนอ้อยตอ (อ้อยตัดสดแบบไม่เผาใบอ้อยหลังตัด) มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าน้อยที่สุดเท่ากับ 14.90 kgCO2eq/ton เมื่อพิจารณาขั้นตอนการเตรียมดินรวมกับขั้นตอนการปลูกพบว่า การปลูกอ้อยใหม่มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าอ้อยตอถึง 43.22 kgCO2eq/ton และเมื่อพิจารณาวิธีการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวแบบอ้อยไฟไหม้และอ้อยตัดสดแบบเผาใบอ้อยหลังตัด จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่ามากกว่าการเก็บเกี่ยวแบบอ้อยตัดสดแบบไม่เผาใบอ้อยหลังตัดประมาณ 38 เท่าสำหรับอ้อยปลูกใหม่ และ 52 เท่าสำหรับอ้อยตอ ดังนั้นการผลิตอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาล ชาวไร่อ้อยควรเลือกปลูกอ้อยแบบอ้อยตอและมีการเก็บเกี่ยวแบบอ้อยตัดสดและไม่เผาใบหลังตัดอ้อย จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด The purpose of this research study is to investigate the emission of carbon dioxide (CO2) from sugarcane cultivations of farmers in Buriram Province based on the principle of life cycle assessment of four processes of sugarcane production, including land preparation, planting, nurturing, and harvesting and transportation. There are two forms of cane growing, namely plant cane and ratoon cane. With regard to harvesting, there are three forms: burned cane, fresh cane and burned leaves, and fresh cane. The results of this study revealed that ratoon cane (fresh cane and burned leaves) emitted the maximum carbon dioxide (CO2) equivalent of 532.19 kgCO2eq/ton, followed by ratoon cane (burned cane), plant cane (fresh cane and burned leaves), plant cane (burned cane), and plant cane (fresh cane) at 524.91, 436.58, 429.29 and 60.82 kgCO2eq/ton, respectively. Regarding ratoon cane (fresh cane), it emitted the minimum CO2equivalent of 14.90 kgCO2eq/ton. When considering the process of land preparation in combination with planting, it was found that growing plant cane emitted more CO2 equivalent than that of ratoon cane by 43.22 kgCO2eq/ton. With respect to harvesting methods, harvesting burned cane and fresh cane and burned leaves emitted more CO2 equivalent than that of fresh cane around 38 times for plant cane and 52 times for ratoon cane. Therefore, in producing and selling sugarcane to sugar mills, sugarcane farmers should choose to grow ratoon canes and harvest the fresh canes, which would effectively minimize environmental impact.Downloads
Issue
Section
Articles