ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเครื่องดื่มน้ำผัก สมุนไพร และผลไม้ เทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย

Authors

  • บุญเลี้ยง สุพิมพ์
  • สุระเดช ไชยตอกเกี้ย
  • จิตติมา พีรกมล
  • สุพรรณี พฤกษา

Keywords:

สารประกอบฟีนอลิก, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, เครื่องดื่มน้ำผัก, เครื่องดื่มน้ำสมุนไพร, เครื่องดื่มน้ำผลไม้

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) วิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำผัก สมุนไพร และผลไม้ และ 2) สร้างสูตรเครื่องดื่มน้ำผัก สมุนไพร และผลไม้ ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกทั้งหมด ด้วยวิธี Folin-Ciocaltue phenol และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ Ferric reducing/antioxidant potential (FRAP) การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของตัวอย่าง โดยการให้คะแนนความชอบ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยใช้สถิติ One-Way ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Fisher's least significant difference (LSD) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยใช้สถิติ Pearson correlation ผลการวิจัยพบว่า ฝรั่ง และสูตร 4 มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดมากที่สุด คือ 30.21±1.88 µg GAE/ml sample และ 29.31±2.05 µg GAE/ml sample ตามลำดับ ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี DPPH พบว่า มะนาว และสูตร 4 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 58.24±0.21 µM VEAC/ml sample และ 57.09±0.31 µM VEAC/ml sample ตามลำดับ และศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี FRAP พบว่า ฝรั่ง และสูตร 4 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 65.20±1.17 µM VEAC/ml sample และ 59.57±0.81 µM VEAC/ml sample ตามลำดับ โดยปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการเปรียบเทียบความชอบต่อคุณภาพด้าน สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม พบว่า ประชาชน มีความชอบในคุณภาพด้านสี กลิ่น รสชาติ ความชอบโดยรวมต่อสูตร 4 เมื่อเทียบกับสูตร 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้อาจเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องดื่มสุขภาพจากผัก สมุนไพร และผลไม้ต่อไป             The purpose of this research were: 1) to investigate the total phenolic contents and antioxidant activity of vegetable, herb and fruit juices and 2) to develop of functional beverages from vegetable herb and fruit Juices. Total phenolic contents of sample were Folin-Ciocaltue phenol method. The antioxidant activity of sample were assay by 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) assay and Ferric reducing/antioxidant potential (FRAP) assay. The sensory evaluation of sample was performed by using 5-point hedonic scale. Data were analyzed by mean and standard deviation. One-Way ANOVA were employed for analyzing comparison. And by pair to Fisher's least significant difference (LSD). Pearson correlation were employed for analyzing correlation. Our results showed that Psidium guajava and 4 formula exhibited higher total phenolic contents than the other vegetable herb fruit and formulas with at 30.21±1.88 and 29.31±2.05 µg GAE/ml sample, respectively. Citrus aurantifolia and 4 formula exhibited higher antioxidant activity than the other vegetable herb fruit and formulas expressed as DPPH assay value was 58.24±0.21 and 57.09±0.31 µM VEAC/ml sample, respectively. Psidium guajava and 4 formula exhibited higher antioxidant activity than the other vegetable herb fruit and formulas expressed as FRAP assay value was 65.20±1.17 and 59.57±0.81 µM VEAC/ml sample, respectively. Total phenolic contents of samples were significantly correlated with antioxidant activity. In addition, tests the difference of mean by pair of color, odor and overall acceptance found that the functional beverages of 4 formula had difference with 1 and 2 formulas with statistically significant at 0.05 level. This study suggested that trend for developing functional beverages from vegetables, herbs and fruits.

Downloads