การเจริญเติบโตของปลาหมอไทย (Anabas testudineus) ที่เลี้ยงในระบบไบโอฟลอค โดยการเติมสารอินทรีย์คาร์บอนแตกต่างกัน

Authors

  • อานุภาพ วรรณคนาพล
  • สุดาพร ตงศิริ
  • ประจวบ ฉายบุ

Keywords:

ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต, ปลาหมอไทย, ไบโอฟลอค, สารอินทรีย์คาร์บอน

Abstract

            การเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบเทคโนโลยีไบโอฟลอคเป็นการเลี้ยงแบบพัฒนาในระบบปิด มีจุดเด่นคือการสร้างอาหารเสริมธรรมชาติแก่สัตว์น้ำที่เกิดจากการรวมตัวของจุลินทรีย์และอินทรีย์วัตถุอื่น ๆ ในบ่อเลี้ยงเกิดเป็นตะกอนแขวนลอยเรียกว่าไบโอฟลอค ระบบนี้สามารถรักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสมตลอดการเลี้ยง เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำต่อหน่วยพื้นที่และประหยัดการใช้น้ำ ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการศึกษาในปลาหมอไทย การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของปลาหมอไทย (Anabas testudineus) ที่เลี้ยงในระบบไบโอฟลอคโดยการเติมสารอินทรีย์คาร์บอนที่แตกต่างกัน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของปลาหมอไทยกับปริมาณไบโอฟลอคที่เกิดขึ้น เตรียมสารอินทรีย์คาร์บอนในท้องถิ่น 3 ชนิดประกอบด้วย กากน้ำตาล แป้งข้าวเจ้าและรำละเอียด โดยสองชนิดหลังใช้ผสมกับกากน้ำตาลอัตรา 50 : 50 ทำการทดลองในบ่อพลาสติกทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ม. สูง 1.0 ม. เติมน้ำที่ระดับ 0.80 ม. เพื่อรักษาปริมาตรน้ำให้อยู่ระหว่าง 2.5 - 3 ม.3 ตลอดเวลา เติมออกซิเจนละลายน้ำไม่ให้ต่ำกว่า 4 มก./ล. ปล่อยปลาหมอไทยอัตรา 50 ตัว/ม.3 ให้อาหารตามโปรแกรมปลากินเนื้อ ใช้ระยะเวลาเลี้ยง 120 วัน ทำการเติมสารอินทรีย์คาร์บอนเมื่อแอมโมเนียไนโตรเจนสูงกว่า 0.05 มก./ล. โดยการควบคุมสัดส่วน C : N เท่ากับ 15 : 1 ผลการศึกษาพบว่า ปลาหมอไทยมีการเจริญเติบโตจนได้ขนาดไม่ต่ำกว่า 4 ตัว/กก. ซึ่งจัดเป็นปลาขนาดใหญ่ตามความต้องการของตลาดจากการเติมสารอินทรีย์คาร์บอนทั้ง 3 ชนิด และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน อัตราการแลกเนื้อ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะและอัตราการรอดตายของปลาหมอไทยไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของปลาหมอไทยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณไบโอฟลอคจากการเติมสารอินทรีย์คาร์บอนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นปลาหมอไทย มีความเหมาะสมในการนำมาเลี้ยงในระบบไบโอฟลอคที่เติมกากน้ำตาล แป้งข้าวเจ้าและรำละเอียดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นได้            The aquaculture using biofloc technology is an intensive fish culture closed system. The distinctive point is the production of natural feed for fish derived from the combination of microorganisms and organic materials in ponds which is referred to as biofloc. This system is able to maintain a suitable water quality throughout the culture period, increase production capacity, and save the water usage. At present, there is no study the climbing perch culture in biofloc system. Then, the experiment objectives were to investigate growth performance of climbing perch (Anabas testudineus) cultured in biofloc system by adding different sources of organic carbon including the relationship between their growth performance and the concentration of biofloc in each carbon source. There were three local sources consisting of molasses, rice flour and rice bran especially the last two carbon sources were designed to combine with molasses at rate 50 : 50 ratios before adding in the culturing pond. The experiment was conducted in outdoor cylindrical plastic tanks with a diameter 2.5 m. and 1 m. height with 0.8 m. water depth. The water volume was kept between 2.5 - 3 tons at all time together with the dissolved oxygen was maintained above 4 mg/L throughout the culture period. The fish stocking density was stocked at rate 50 fishes/m3. The fish was fed according to catfish feeding program within 120 days before harvesting. The three carbon sources were added in the system when ammonia reached over 0.05 mg./L together with controlling 15 : 1 for C : N ratio. The results showed that the growth of climbing perch was reached the biggest marketable size at 4 fishes/kg. when adding all carbon sources. Moreover, weight gain, average daily weight gain, feed conversion ratio, specific growth rate and survival rate were no significances (P>0.05). However, it had a significant relationship between growth of climbing perch and concentration of biofloc in each treatment (P<0.05). Hence, the climbing perch is one of the most suitable species for culturing in biofloc system by adding rice flour or rice bran as good carbon source alternatives.

Downloads