การประมาณค่าสัมประสิทธิ์การลดลงของรังสีแสงอาทิตย์ภายใต้ท้องฟ้าไม่มีเมฆในบรรยากาศของ ประเทศไทย

Authors

  • สายันต์ โพธิ์เกตุ

Keywords:

สัมประสิทธิ์การลดลง, ไอน้ำกลั่นตัว, ข้อมูลทัศนวิสัย, ท้องฟ้าไม่มีเมฆ, รังสีแสงอาทิตย์

Abstract

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าสัมประสิทธิ์การลดลงของรังสีแสงอาทิตย์ในบรรยากาศของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลรังสีแสงอาทิตย์จากการวัดและจากการคำนวณทางทฤษฎีในวันที่ท้องฟ้าปราศจากเมฆของสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเชียงใหม่ อุบลราชธานี กรุงเทพมหานครและสงขลา ในช่วงปี พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2560 พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การลดลงของรังสีแสงอาทิตย์มีความสัมพันธ์ในรูปแบบจำลองทางคณิตศาสตร์กับข้อมูลปริมาณไอน้ำกลั่นตัวได้และข้อมูลทัศนวิสัยโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.86 ค่าที่คำนวณจากแบบจำลองมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่คำนวณโดยใช้ข้อมูลรังสีแสงอาทิตย์ แสดงให้เห็นว่าข้อมูลทั้งสองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อใช้แบบจำลองคำนวณสัมประสิทธิ์การลดลงของรังสีแสงอาทิตย์จากสถานีอุตุนิยมวิทยา 85 สถานีทั่วประเทศ พบว่าสัมประสิทธิ์การลดลงของรังสีแสงอาทิตย์มีค่ามากที่ละติจูดต่ำ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนจะมีค่ามาก             This research objective is an estimation of the extinction coefficient of solar radiation in the atmosphere of Thailand. Solar radiation data from measurements and calculations using a theoretical model on cloudless days were used. The data was collected from four meteorological stations which located on Chiang Mai, Ubon Ratchathani, Bangkok, and Songkhla during 2013-2017. It was found that, the extinction coefficient of solar radiation was correlated in the mathematical model with the precipitable water vapor and visibility data. The correlation coefficient was 0.86. The extinction coefficients were calculated from the model are closed to those obtained from solar radiation data. The result indicating that both data are not significantly different at the confidence level 95%. The model was used to calculate the extinction coefficient of solar radiation from 85 meteorological stations throughout the country. The results showed that, the extinction coefficient of solar radiation were high at lower latitudes and also high in February to April.

Downloads