การกระจายและความหนาแน่นของไส้เดือนทะเลบริเวณป่าชายเลน ปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร

Authors

  • ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน

Keywords:

ไส้เดือนทะเล, ป่าชายเลน, ปากแม่น้ำท่าจีน, จังหวัดสมุทรสาคร, polychaetes

Abstract

         ศึกษาองค์ประกอบ การกระจาย และความหนาแน่นของไส้เดือนทะเลบริเวณป่าชายเลนปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร โดยกำหนดบริเวณศึกษาจากป่าชายเลนตอนบนติดแผ่นดินออกสู่ทะเลบริเวณหาดเลน จำนวน 5 บริเวณ ได้แก่ ป่าลำพู (TC-S) ป่าโกงกางปลูกอายุ 8 ปี (TC-R) ป่าแสมธรรมชาติ (TC-A) ป่าแสมธรรมชาติด้านหน้าหาด (TC-AA) และหาดเลน (TC-M) พบไส้เดือนทะเลทั้งสิ้น 6 วงศ์ 9 สกุล ประกอบด้วยวงศ์ Capitellidae (สกุล Notomastus และ Neomediomastus) วงศ์ Nephtyidae (สกุล Nephtys) วงศ์ Nereidae (สกุล Dendronereis, Namalycastis และ Nereis) วงศ์ Pilargiidae (สกุล Sigambra) วงศ์ Spionidae (สกุล Minuspio) และวงศ์ Sabellidae (Unidentified genus) โดยไส้เดือนทะเล Namalycastis sp. พบมีความหนาแน่นและการกระจายทุกบริเวณในพื้นที่ป่าชายเลน ขณะที่ไส้เดือนทะเล Nereis sp. พบชุกชุมบริเวณ หาดเลน ผลการจัดกลุ่มไส้เดือนทะเลสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มที่อาศัยบริเวณหาดเลนในช่วงฤดูแล้ง (2) กลุ่มที่อาศัยบริเวณหาดเลนในช่วงฤดูฝน และ (3) กลุ่มที่อาศัยในพื้นที่ป่าชายเลน การกระจายและความชุกชุมของไส้เดือนทะเลมีความสัมพันธ์กับปริมาณสารอินทรีย์และปริมาณซิลท์-เคลย์ในดินตะกอน มวลชีวภาพเศษซากใบไม้กิ่งไม้ อุณหภูมิของน้ำในดินและความเป็นกรด-ด่างของน้ำในดิน การศึกษาการกระจายและความหนาแน่นของไส้เดือนทะเล Namalycastis sp. สามารถนำมาใช้เป็นดัชนีบ่งชี้เพื่อติดตามและประเมินความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน               The polychaete assemblage composition, distribution and density in Tha Chin mangrove estuary, Samut Sakhon province were studied. Five sampling stations were set along transect from the landward edge of the mangrove forest to the seaward mudflat comprised of Sonneratia forest (TC-S) Rhizophora plantation of 8 years (TC-R) Natural Avicennia forest (TC-A) Natural Avicennia forest on seaward side (TC-AA) and tidal mudflat. A total of six families with 9 genera of polychaetes were found, including Capitellidae (Notomastus, Neomediomastus), Nephtyidae (Nephtys), Nereididae (Dendronereis, Namalycastis, Nereis), Pilargiidae (Sigambra), Spionidae (Minuspio) and Sabellidae. The nereidid polychaete, Namalycastis sp. was the most abundant and widely distributed in the mangrove forest while nereidid polychaete, Nereis sp. was dominated in the tidal mudflat. Polychaete community structure was categorized in to three major groups: (1) those in the tidal mudflat outside the forest in dry season; (2) those in the tidal mudflat outside the forest in rainy season and (3) those in mangrove forest areas. The results showed the distribution and abundances of polychaetes in the mangrove forest were closely related to organic contents and silt-clay fraction in sediment, biomass of leaf litter of mangrove vegetation, temperature and pH of the interstitial water. The nereidid polychaete, Namalycastis sp. can be used as the indicator to monitor and assess mangrove fertility.

Downloads