ผลของขนาดต่อการยอมรับเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายในหอยกาบใหญ่ Cristaria plicata ของการผลิตมุกน้ำจืดแบบไม่ใส่แกน

Authors

  • บุญทิวา ชาติชำนิ
  • สุกัญญา คำหล้า
  • อมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์
  • สมศักดิ์ ระยัน

Keywords:

หอยกาบน้ำจืด, หอยกาบใหญ่, ไข่มุกน้ำจืด, freshwater mussel, Cristaria plicata, freshwater pearl

Abstract

           หอยกาบใหญ่เป็นหอยกาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ และเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในประเทศไทย เปลือกชั้นในมีความแวววาวและสวยงาม เนื้อเยื่อส่วนแมนเทิลมีความหนา จึงมีศักยภาพเพียงพอเพื่อใช้ผลิตไข่มุกน้ำจืดได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของขนาดต่อการยอมรับการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อของหอยกาบใหญ่ที่เลี้ยงในบ่อดินสภาพน้ำนิ่ง โดยใช้หอยกาบใหญ่ 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก 7-9 เซนติเมตร ขนาดกลาง 9.1-12 เซนติเมตร และขนาดใหญ่มากกว่า 12 เซนติเมตร พบว่า ความยาวเพิ่มเฉลี่ย อัตรารอด และอัตราการพัฒนามุกไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) โดยอัตราการเกิดถุงไข่มุกมีค่าเฉลี่ย (Mean±S.D) เท่ากับร้อยละ 78.30±0.57 81.60±1.80 และ 78.30±0.57 ตามลำดับ และน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยของหอยขนาดกลางเพิ่มขึ้นแตกต่างกันทางสถิติกับขนาดใหญ่และขนาดเล็ก (p≤0.05) โดยมีน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย 3.91±0.51, 2.08±0.51 และ 0.58±0.51 กรัม ตามลำดับ ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าหอยกาบใหญ่สามารถอาศัยอยู่ในสภาพน้ำนิ่งในบ่อดินและสามารถใช้ผลิตไข่มุกน้ำจืดได้ ดังนั้นควรมีการศึกษาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของไข่มุกน้ำจืดที่ผลิตได้ และควรศึกษาการเพาะพันธุ์หอยกาบใหญ่เพื่อใช้ผลิตไข่มุกน้ำจืดเชิงพาณิชย์ต่อไป             The Cristaria plicata are large size freshwater mussel clams and is an endemic species of Thailand, the inner shell is shiny and beautiful with thick mantle tissue, therefore has sufficient potential for producing freshwater pearls. The aim of this study was to investigate the effect of three different mussel sizes (7-9 cm, 9.1-12 cm, and larger than 12 cm) on production of pearl from graft tissue. The experimental mussels were reared in an earthen pond with stagnant water condition. The results showed that there were no statistically significant differences in length, survival rate, and mean (Mean+ S.D) pearl sac formation (78.30 ± 0.57%, 81.60 ± 1.80% and 78.30 ± 0.57%) of the mussels among the sizes at the end of the experiment (p.>0.05). However, growth in weight differed significantly where the highest mean weight gain (3.91 ± 0.51 g) was found in medium size mussel while mean weight gain in large and small size mussels were 2.08 ± 0.51 and 0.58 ± 0.51 g (p≤0.05). This study shows that C. plicata can live in stagnant water in ponds and can be used to produce freshwater pearls. Therefore, there should be studies of environmental factors suitable for growth and the quality of freshwater pearls produced, and should study the breeding of C. plicata for commercial freshwater pearls production.

Downloads