การปนเปื้อนของตะกั่ว โครเมียม ทองแดง และสังกะสี ในตะกอนดินคลองปากบางและพื้นที่รองรับน้ำทิ้ง ตำบลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

Authors

  • ธงชัย สุธีรศักดิ์
  • เพ็ญศิริ เอกจิตต์
  • กนกพร เมืองมูล
  • นูรอัสมีนา สา
  • อนัญญา ละไม

Keywords:

การประเมินโลหะหนัก, ตะกอนดิน, การปนเปื้อน, คลองปากบาง, จังหวัดภูเก็ต

Abstract

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปนเปื้อนของตะกั่ว โครเมียม ทองแดง และสังกะสี ในตะกอนดินของคลองปากบางและพื้นที่รองรับน้ำทิ้งคลองปากบางที่เชื่อมต่อกับหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ตัวอย่างตะกอนดินถูกเก็บขึ้นมา 3 จุดเก็บตัวอย่างตามแนวคลองปากบาง และ 11 จุดเก็บตัวอย่างในพื้นที่รองรับน้ำทิ้งคลองปากบาง ส่วนการเตรียมตัวอย่างและการวิเคราะห์ผลปริมาณโลหะหนักอาศัยวิธีการวิเคราะห์ทางธรณีเคมี การประเมินผลการปนเปื้อนของโลหะหนักทั้ง 4 พิจารณาจากปริมาณโลหะหนักที่สะสมอยู่ในตะกอนดินเปรียบเทียบตามเกณฑ์คุณภาพตะกอนดิน (SQGs) และใช้ตัวชี้วัดคุณภาพตะกอนดินเพิ่มเติม 6 ชนิด ได้แก่ ดัชนีการสะสมทางภูมิศาสตร์ (Igeo), ค่าเฉลี่ยปัจจัยการเสริม (EF), ปัจจัยการปนเปื้อนเฉลี่ย (CF), ดัชนีภาระมลพิษ (PLI), ดัชนีความเสี่ยงทางนิเวศวิทยาแฝงเร้น (RI) และดัชนีมลพิษของตะกอนดิน (SPI) มาประเมินผลการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ผลที่ได้พบว่ามีปริมาณทองแดงและสังกะสีที่สะสมอยู่ในตะกอนดินจากคลองปากบางในช่วงต้นและกลางคลองที่เกินเกณฑ์คุณภาพตะกอนดิน (SQGs) นอกจากนี้ผลจากตัวชี้วัดอื่นสะท้อนให้เห็นถึงการปนเปื้อนระดับปานกลางของโลหะหนักทั้งสองด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ไม่พบการปนเปื้อนของโลหะหนักทั้ง 4 ชนิดในพื้นที่รองรับน้ำทิ้ง อย่างไรก็ตามผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกันของโลหะหนักทั้ง 4 ชนิด ด้วยนัยสำคัญที่อาจเกี่ยวพันกันแบบผกผันกับปัจจัยที่มาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ในพื้นที่            The objective of this research is to assess the contamination of lead (Pb), chromium (Cr), copper (Cu) and zinc (Zn) in the sediments of Pak Bang canal and at the dranage areas of Pak Bang canal which connected to Patong Beach, Phuket province. Sediment samples were collected at 3 sampling points along the Pak Bang canal and 11 sampling points along the Pak Bang canal. Sample preparation and heavy metal analysis were determined according to geochemistry methods. The contamination of the four heavy metals was evaluated based on the amount of heavy metals accumulated in the sediment as compared to the sediment quality criteria (SQGs) and using other 6 sediment quality indicators included geoaccumulation index (Igeo), enrichment factor (EF), contamination Factor (CF), pollution load index (PLI), potential ecological risk index (RI) and sediment Pollution Index (SPI) to determine the environmental pollution. The results showed that Cu and Zn concentrations of the sediments at the upstream and middle stream of Pak Bang canal exceed the SQGs level. Other sediment quality indicators reflected the intermediate level of metal contamination, however, no contamination of all 4 heavy metals was found in the drainage area. Statistically significant relationship among the four heavy metals may be inversely related to factors from various human activities in the area.

Downloads