การบำบัดไตรบิวทิลทินในระบบบึงประดิษฐ์
Tributyltin Reduction in Constructed Wetland
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลขององค์ประกอบในระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์จำลอง ได้แก่ น้ำ ตะกอนจุลินทรีย์ และพืช ในการบำบัดไตรบิวทิลทิน และแสดงกลไกที่สำคัญจากองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบ ได้แก่ การออกซิเดชันในน้ำ การตกจมและสะสมในตะกอนจุลินทรีย์ และการดูดเก็บไว้โดยพืช ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลง ของดีบุกในระบบเกิดขึ้นในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงของการทดลอง และจะเข้าสู่สภาวะสมดุล หลังการบำบัดด้วยระบบบึงประดิษฐ์ 1.3 วัน พบว่าปริมาณดีบุกในน้ำคงเหลือไม่เกิน 1% มีดีบุกถูกดูดเก็บไว้โดยพืช 13% และมีดีบุกตกจมและสะสมอยู่ในตะกอนจุลินทรีย์มากกว่า 76% ผลที่ได้จากระบบบึงประดิษฐ์ในระดับห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของบึงประดิษฐ์ในส่วนของตะกอนจุลินทรีย์ และกลไกการตกจมและสะสมมีอิทธิพลในการบำบัดไตรบิวทิลทินในระบบมากที่สุด ตามมาด้วยการดูดเก็บไว้โดยพืช และการออกซิเดชัน ตามลำดับ The objective of this study is to investigate the influence of components in constructed wetland including water, sediment microorganisms and plants in tributyltin treatment and show important mechanisms from various components of the system including oxidation, settling and accumulation of sediment microorganisms and plant uptake. The results showed that the change of tin concentration in all laboratory experiments was occurred for 48 hours and then turned to equilibrium. After 1.3 days of treatment in the constructed wetland tin was found to be not exceed 1%, tin was absorbed by plant 13% and settling of tin and adsorption on sludge were over 76%. Therefore, the composition of the constructed wetland in terms of sediment microorganisms and settling and accumulation were the most influence mechanisms on tributyltin treatment followed by plant uptake and oxidation, respectively.Downloads
Published
2022-11-28
Issue
Section
Articles