ผลการใช้ไบโอฟลอคต่อการเจริญเติบโตและการควบคุมคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลากะพงขาวในน้ำจืด

Result of Using Biofloc on Growth and Water Quality Control in Lates calcarifer Culture in Freshwater

Authors

  • สุพันธ์ณี สุวรรณภักดี
  • พัชราวลัย ศรียะศักดิ์
  • ณัทธิยา ชำนาญค้า
  • พรพิมล พิมลรัตน์

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ไบโอฟลอคต่อการเจริญเติบโตและการควบคุมคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลากะพงขาวในน้ำจืด โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ชุดการทดลอง คือ ชุดการทดลองที่ 1 ชุดควบคุม (ไม่ใช้ไบโอฟลอค) และชุดการทดลองที่ 2 การใช้ไบโอฟลอค (ใช้รำละเอียดเป็นแหล่งคาร์บอนและอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N ratio) = 20:1) เลี้ยงลูกปลากะพงขาวอัตราความหนาแน่น 10 ตัวต่อตารางเมตร เป็นเวลา 180 วัน ผลการวิจัยพบว่า ชุดการทดลองที่ใช้ไบโอฟลอคและชุดควบคุม มีน้ำหนักปลาสุดท้าย (403.45±46.45 และ 400.40±46.94 กรัม/ตัว) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (373.95±45.63 และ 370.75±46.94 กรัม/ตัว) อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) ( 2.08±0.25 และ 2.06±0.26 กรัม/ตัว/วัน) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) ( 1.47±0.19 และ 1.54±0.20) ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCE) ( 68.94±8.51 และ 66.13±8.54 %) อัตราการรอด (76.67±7.64 และ 71.67±5.77 %) และผลผลิตปลา (6,186±616 และ 5,739±462 กรัม/ถัง) ซึ่งทั้งสองชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) สำหรับคุณภาพน้ำพบว่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ อุณหภูมิของน้ำ ไนไตรท์ และไนเตรททั้งสองชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่ค่า pH ปริมาณสารแขวนลอยและความเข้มข้นของแอมโมเนียรวมในชุดการทดลองที่ใช้ไบโอฟลอคมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดควบคุม (p<0.05) โดยชุดการทดลองที่ใช้ไบโอฟลอคมีค่า pH และปริมาณแอมโมเนียรวมต่ำกว่าชุดควบคุมตลอดการเลี้ยง รวมทั้งชุดการทดลองที่ใช้ไบโอฟลอคสามารถลดแอมโมเนียรวมได้ 15.15-75.13 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับชุดควบคุม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้ไบโอฟลอคในการเลี้ยงปลากะพงขาวในน้ำจืดสามารถลดปริมาณแอมโมเนียรวมในน้ำได้และเป็นการควบคุมคุณภาพน้ำไม่ให้เป็นอันตรายต่อปลากะพงขาว This study aimed to investigate biofloc system on growth and water quality of Lates calcarifer in freshwater. The experiment was divided into 2 groups; group 1 was a control group which was not used biofloc. Group 2 was used biofloc system from rice barn as carbon source which was Carbon-to-Nitrogen ratio 20:1. Stocking density has been adjusted 10 fish/m3 in about 180 days. The experiment group which was treated with biofloc system and the control group have final weight (403.45±46.45 and 400.40±46.94 g/fish), weight gain (373.95±45.63 and 370.75±46.94 g/fish), average daily gain (ADG) (2.08±0.25 and 2.06±0.26 g/fish/day), feed conversion ratio (FCR) (1.47±0.19 and 1.54±0.20), food conversion efficiency (FCE) (68.94±8.51 and 66.13±8.54 %), survival rate (76.67±7.64 and 71.67±5.77 %) and fish production (6,186±616 and 5,739±462 g/tank), no differences were found between 2 groups (p>0.05). The water quality parameter was no differences between dissolved oxygen, water temperature, nitrite and nitrate (p>0.05). A difference was found in pH, total suspend solid and total ammonia concentration, the experiment group had lower level than the control group (p<0.05). Using biofloc system can reduce total ammonia of 15.15-75.13% when   compared with control group. This study highlighted using biofloc system can reduce total ammonia and control water quality which was not harm fish when raised Lates calcarifer in   freshwater.

Downloads

Published

2022-11-28