การปนเปื้อนของโลหะหนักในดินจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยและพื้นที่นาข้าวโดยรอบ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
Heavy Metal Contamination in Soil at Waste Disposal Site and Surrounding Paddy Field Area in Khok Sa-At Subdistrict Administrative Organization, Khong Chai District, Kalasin Province
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของดินและปริมาณโลหะหนักในดิน ณ พื้นที่นาข้าวรอบสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการเก็บตัวอย่างดินภายในพื้นที่ A, B และ C โดยพื้นที่ A ทำการเก็บตัวอย่างดินภายในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ระยะห่างจากขอบแนวกำแพง 25 เมตร พื้นที่ B และ C ทำการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่นาข้าวรอบสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ระยะห่างจากขอบแนวกำแพง 2 เมตร และ 20 เมตร ตามลำดับ แต่ละพื้นที่ทำการเก็บตัวอย่างดิน จำนวน 6 จุด รวมทั้งหมด 18 จุด ในระหว่างเดือนสิงหาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ทำการตรวจวัดคุณสมบัติของดิน ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า และปริมาณโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมียม และทองแดง โดยใช้เทคนิคอะตอมมิกแอบซอร์บชั่นสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ A, B และ C มีค่าเฉลี่ยความเป็นกรด-ด่างของดินอยู่ในช่วง 5.59±0.01 – 8.32±0.01, 4.05±0.01 – 8.46±0.00 และ 4.62±0.00 – 7.57±0.01 ตามลำดับ ค่าการนำไฟฟ้ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 12.72±0.04 – 195.47±0.06, 17.38±0.09 – 240.67±0.58 และ 17.81±0.20 – 190.23±0.06 ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร ตามลำดับ ปริมาณโลหะหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดไว้ ยกเว้นปริมาณตะกั่วที่พบในพื้นที่ A ที่จุดเก็บตัวอย่าง 3A มีค่า 1,208.87±0.15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม The objective of this study was to examine the soil properties and heavy metals in the soil at the rice paddy fields surrounding the waste disposal site of Khok Sa-at Subdistrict Administrative Organization, Khong Chai District, Kalasin Province. The data collection involved collecting the soil samples from Spot A, B, and C. Spot A collected soil samples in the waste disposal site 25 meters away from the wall. Spot B and C collected soil samples in the rice fields surrounding the waste disposal site 2 meters and 20 meters away from the wall. Soil samples were collected from 6 spots in each area altogether 18 spots during August to November 2018. The soil properties were examined for pH, EC, and heavy metals by using Atomic Absorption Spectrophotometer Technique. The statistics for data analysis were mean and standard deviation. The results showed that Area A, B, and C showed pH at 5.59±0.01 – 8.32±0.01, 4.05±0.01 – 8.46±0.00, and 4.62±0.00 – 7.57±0.01 respectively. The EC mean was 12.72±0.04 – 195.47±0.06, 17.38±0.09 – 240.67±0.58, and 17.81±0.20 – 190.23±0.06 µS/cm. And, the heavy metals were in line with the standards prescribed by the Pollution Control Department except that of the lead in Spot A. The samples at Spot 3A detected lead at 1,208.87±0.15 mg/kg whereas the standard criteria prescribe not exceeding 400 mg/kg.Downloads
Published
2022-11-28
Issue
Section
Articles