การเปรียบเทียบองค์ประกอบผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีของเม่า

A Comparison of Yield Component and Chemical Composition in Mao

Authors

  • สุขุมาภรณ์ ศรีเผด็จ
  • สุพัตรา โพธิเศษ

Abstract

เม่านิยมปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์อย่างแพร่หลายในจังหวัดสกลนคร เนื่องจากเม่าเป็นพืชที่เกิดเองตามธรรมชาติ ซึ่งเม่ามีหลายพันธุ์ เม่านิยมรับประทานผลสดเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าด้านสุขภาพ ปัจจุบันมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบผลผลิต และองค์ประกอบทางเคมีของแต่ละพันธุ์เม่าที่เหมาะสมส่งเสริมเชิงพาณิชย์ ณ จังหวัดสกลนคร ตามแผนการทดลอง CRD พบว่า เม่าแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งขององค์ประกอบผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งได้แก่ ปริมาณแอนโธไซยานิน และปริมาณเส้นใย (P < 0.01) ส่วน TSS, TA, TSS/TA, pH, ความชื้น, โปรตีน และเถ้ามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ยกเว้น เปอร์เซ็นต์ไขมันไม่มีความแตกต่างทางสถิติในแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งพันธุ์ฟ้าประทานมีจำนวนผลและนํ้าหนักผลต่อช่อมากที่สุด อีกทั้งมีนํ้าหนัก 100 ผล, ความยาวช่อ ปริมาณกรดที่ไตรเตรทได้ (TA) และความชื้นมากที่สุด ส่วนพันธุ์แสนเพียรมีของแข็งที่ละลายนํ้าได้ทั้งหมด (TSS), TSS/TA, pH, ปริมาณโปรตีนมากที่สุด พันธุ์คำไหลมีความยาวผล ปริมาณแอนโธไซยานิน เยื่อใย โปรตีน และเถ้ามากที่สุด เมื่อวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่า นํ้าหนักผลต่อช่อมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับจำนวนผลต่อช่อ ขณะที่นํ้าหนัก 100 ผลมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับของแข็งที่ละลายนํ้าได้ทั้งหมด (TSS) และ pH แต่มีสหสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณกรดที่ไตรเตรทได้ (TA) และปริมาณเยื่อใย          Mao is widely grown in the organic agriculture system in Sakon Nakhon Province, because mao is a naturally occurring plant which has many varieties. Mao fruits are popularly eaten as fresh fruit because they are healthy fruits. Nowadays, there are various products that have enormous economic value. This research aims to determine the yield components and chemical composition of each mao variety commercially suitable in Sakon Nakhon Province. The experimental was arranged in CRD. It was found that each variety of mao has a highly significant difference in yield component and chemical composition such as anthocyanin and fiber content (P < 0.01). While TSS, TA, TSS / TA, pH, moisture, protein and ash were statistically different (P < 0.05) except the fat percentage has no statistical difference. It was found that the Faprathan produced the highest number of fruits and fruit weight per panicle also 100 fruit weight, panicle length, titratable Acidity (TA) and moisture content. The Sanphan produced the highest total soluble solids (TSS), TSS/TA, pH and protein content. The Kumlai had the highest fruit length, anthocyanin, fiber, protein and ash content. The correlation found that the fruit weight per panicle showed positive correlation with number of fruits per panicle. While 100 fruit weight positively correlated with TSS and pH but negatively correlated with TA and fiber content.

Downloads

Published

2022-11-28