การประเมินโครงการแปรรูปขยะเป็นพลังงานในเขตกรุงเทพมหานคร

Project Evaluation of Waste to Energy in Bangkok Metropolitan Area

Authors

  • กฤตภาส มงคลธำรงกุล
  • ประพิธาริ์ ธนารักษ์

Keywords:

โครงการแปรรูปขยะ , เทคโนโลยีฝังกลบ, ถูกหลักสุขาภิบาล , เทคโนโลยีไพโรไลซิส , ไฟฟ้า, น้ำมัน

Abstract

บทความนี้เป็นการประเมินความเป็นไปได้โครงการแปรรูปขยะในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบโครงการแปรรูปขยะเป็นไฟฟ้าจากเทคโนโลยีฝังกลบแบบถูกต้องหลักสุขาภิบาล และโครงการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันจากเทคโนโลยีไพโรไลซิส ด้วยการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน กำหนดระยะเวลาโครงการ 15 ปี ตั้งแต่ปี 2550-2564 นอกจากนี้แล้วยังมีการวิเคราะห์ความ อ่อนไหวของโครงการ ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้พบว่า โครงการแปรรูปขยะเป็นไฟฟ้าสามารถลงทุนได้ แต่ให้ผลตอบแทน เท่ากับ 9.22% ซึ่งน้อยกว่าอัตราส่วนลดที่กำหนด คือ 10% สำหรับโครงการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันมีผลการวิเคราะห์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 116,360,849.09 บาท ผลตอบแทนต่อต้นทุน 1.84 EIRR 32.38% และระยะเวลาการคืนทุน 3 ปี 1.99 เดือน อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของโครงการแปรรูปขยะเป็นไฟฟ้าและโครงการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันจะยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ในการลดปัญหาการกำจัดขยะของประเทศสูงขึ้น ซึ่งรัฐบาลและเอกชนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและเพื่อใช้เงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด   This paper presents a project evaluation of waste to energy in Bangkok Metropolitan area by comparing the waste to electricity in sanitary landfill technology and waste to crude oil in pyrolysis technology. Cost-Benefit analysis is applied in this study. The projects period are 15 years from 2007-2018. Sensitivity analysis is also presented in this paper. The analysis is found that the sanitary landfill technology can be invested but the return is just 9.22% which less than the determined discount rate 10%. The pyrolysis technology is worthwhile investment with net present value 116,360,849.09 Baht, benefit-cost ratio 1.84, EIRR 32.38% and payback period is 3 years and 1.99 months. However, sanitary landfill and pyrolysis technologies will increase the possibility of reducing the problem of municipal solid waste increases in the country. The government and the private sector should be involved in decision-making to perform both projects in order to solve the problem and to use an available limited fund to achieve maximum efficiency.

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2549). สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2549.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2551). เทคโนโลยีการกำจัดขยะเป็นพลังงาน. (Online). www.dede.go.th/dede/index.php?id=451, 29 สิงหาคม 2551.

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2549). สถิติกรุงเทพมหานคร. (Online). www.office.bangkok.go.th/pipd/07Stat(Th)/Stat(th)49/stat49.htm, 29 สิงหาคม 2551.

จรัณยา หวังเลิศตระกูล. (2541). แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการมูลฝอย กรณีศึกษา : กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตร์ มหาบัณฑิต คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ. (2527). การวิเคราะห์และประเมินโครงการ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

เยาวเรศ ทับพันธ์ุ. (2551). การประเมินโครงการตามแนวทางเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริรัตน์ จิตการค้า. (2550). ไพโรไลซิสยางรถยนต์หมดสภาพ : กลไกการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูง. (Online).

wwwvcharkarncom/include/article/showarticle.php?Aid=408&PHPSESSID=59310c21255a9c8f5271080776d1cbc4, 15 กันยายน 2551.

สรยุทธ มีนะพันธ์. (2544). เศรษฐศาสตร์การจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2548). รายงานสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม 2549-2550. (Online). www.office.bangkok go.th/environment/pdf/bsofe2549-2550.pdf, 29 สิงหาคม 2551.

Downloads

Published

2023-02-22