ผลของความเค็มต่อค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดกั้งตั๊กแตน, Miyakea nepa (Latreille, 1828)

Effect of Salinity on Blood Osmolality of Mantis Shrimp, Miyakea nepa (Latreille, 1828)

Authors

  • นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
  • พิชญานันท์ รักษา

Keywords:

ความเค็ม , ออสโมลาลิตี้ของเลือด , กั้งตั๊กแตน

Abstract

ทำการศึกษาผลของความเค็มต่อการเปลี่ยนแปลงค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดกั้งตั๊กแตน (Miyakea nepa) แบบเฉียบพลันที่เวลา 0, 0.5, 1, 3, 6 และ 12 ชั่วโมง และแบบค่อยๆ เปลี่ยนแปลงความเค็มที่เวลา 24 และ 48 ชั่วโมง โดยเจาะเลือดกั้งตั๊กแตนแล้วนำไปวัดค่า ออสโมลาลิตี้ด้วยเครื่องวัดความเข้มข้นของสารละลาย (Vapor Pressure Osmometer 5520) ที่ความเค็ม 4 ระดับ คือ 30, 25, 20 และ 15 psu ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส สำหรับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเค็มแบบเฉียบพลันพบว่า ค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดเปลี่ยนแปลงตามความเค็มที่ลดลง ที่ระดับความเค็ม 30, 25 และ 20 psu ที่เวลา 12 ชั่วโมง มีค่าออสโมลาลิตี้เท่ากับ 982±11,  793±7 และ 686±15 mOsmol/kg ตามลำดับ ส่วนที่ระดับความเค็ม 15 psu พบว่ากั้งตั๊กแตนตายทั้งหมดหลังจากเวลาที่ 1 ชั่วโมง และมีค่าออสโมลาลิตี้ที่เวลา 1 ชั่วโมง เท่ากับ 665±15 mOsmol/kg ส่วนการเปลี่ยน แปลงความเค็มแบบค่อยๆ เปลี่ยนแปลงพบว่าค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดเปลี่ยนแปลงตามความเค็มที่ลดลง ที่ระดับความเค็ม 30, 25, 20 และ 15 psu ที่เวลา 24 ชั่วโมง มีค่าออสโมลาลิตี้เท่ากับ 993±11, 824±6, 687±5 และ 542±7 mOsmol/kg ตามลำดับ และที่เวลา 48 ชั่วโมง มีค่าออสโมลาลิตี้เท่ากับ 985±7, 830±8, 686±4 และ 545±6 mOsmol/kg ตามลำดับ จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงความเค็มแบบ เฉียบพลันนั้น ความเค็มที่กั้งตั๊กแตนสามารถทนอยู่ได้นั้นไม่ควรต่ำกว่า 20 psu ส่วนที่ความเค็ม 15 psu นั้น กั้งตั๊กแตนสามารถทนอยู่ได้แต่จะต้องค่อยๆ ลดระดับความเค็มลง กั้งตั๊กแตนจึงสามารถปรับตัวอยู่ได้ เมื่อ เปรียบเทียบความเข้มข้นของเลือดกั้งตั๊กแตนกับน้ำที่อาศัยอยู่ พบว่ากั้งตั๊กแตนมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มแบบ osmoconformer และมีความทนทานต่อความเค็มอยู่ในช่วงกว้าง (euryhaline) คืออยู่ในช่วง 15-30 psu  The effect of decreased salinity on blood osmolality was investigated in the mantis shrimp (Miyakea nepa). Blood samples were measured using a Vapor pressure osmometer 5520 at salinities of 30, 25, 20 and 15 psu at a temperature of 25 °C. Blood osmolality changed with salinity in mantis shrimps that were reared in seawater where the salinity was changed abruptly. It was found that blood osmolality at 12 hr. was 982±11, 793±7 and 686±15 mOsmol/kg at salinities 30, 25 and 20 psu respectively. All mantis shrimp died after one hour at 15 psu salinity and blood osmolality at one hour was 665±15 mOsmol/kg. Blood osmolality at 24 and 48 hr. was measured in mantis shrimp that were reared in seawater that the salinity was gradually changed. It was found that blood osmolality decreased with salinity after 24 hr., blood osmolality was measured at 993±11, 824±6, 687±5 and 542±7 mOsmol/kg at salinities 30, 25, 20 and 15 psu respectively. At 48 hr. blood osmolality was 985±7, 830±8, 686±4 and 545±6 mOsmol/kg respectively. In conclusion, mantis shrimp can survive in seawater at salinity more than 20 psu. if the salinity was changed abruptly. At salinity of 15 psu, mantis shrimp can also survive but the salinity of water has to be changed gradually. The mantis shrimp Miyakea nepa shows characteristics of an osmoconformer and can be categorized as a euryhaline animal as being able to live in a salinity range between 15-30 psu.

References

ธนาคม บัณฑิตวงศ์รัตน์. (2549). กั้งตั๊กแตน. จดหมายข่าวคณะประมง ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือน กรกฏาคม สิงหาคม.

นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร. (2542). เอกสารประกอบการสอนวิชา 309423 คาร์ซิโนโลยี. ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 187 หน้า

บังอร ศรีมุกดา และสรณัญช์ จำปาศรี. (2537). ศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเพาะและการอนุบาลกั้งตั๊กแตน Harpiosquilla raphidae (Fabricius, 1798). ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจันทบุรี, กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรมประมง, 51 หน้า

สาธิต โกวิทวที. (2537). การศึกษาอนุกรมวิธานของกั้งตั๊กแตนบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก. ภาควิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2552. ศูนย์สารสนเทศกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เอกสาร ฉบับที่ 9/2554

Bukey, K., Young, S.P., Smith, T.I.J. & Tomasso, J.R. (2007). Low-Salinity resistance of juvenile Cobias. Journal of Aquaculture, 69, 271–274.

Castille Jr, F.K. & Lawrence, A.L. (1981). The effect of salinity on the osmotic, sodium and Chloride concentration in the hemolymph of the rock shrimp, Sicyonia brevirostris and Sicyonia dorsalis. Comparative Biochemistry and Physiology Part A: Physiology., 70(4), 519-523.

Gilles, R. (1979). Mechanisms of Osmoregulation in Animal. John Wiley & Sons: Belgium.

Lin, H.C., Y. C., Su and S.H., Su. (2002). A Comparative study of osmoregulation in four fiddler crabs (Ocypodidae: Uca). Journal of Zoological science, 19, 643-650.

Lotan, R. (1966). Oxygen consumption in the gills of Tilapia aurea (Steindachner) (Pisces, Cichlidae) in various saline conditions. Israel Journal Zoology, 15(2), 33-37.

Downloads

Published

2023-02-22