ฟลักซ์ความร้อนที่ผิวหน้าทะเลในรอบปีบริเวณอ่าวไทย
Annual Surface Heat Flux in the Gulf of Thailand
Keywords:
ฟลักซ์ความร้อนผิวหน้าทะเล , อ่าวไทยAbstract
ได้ทำการศึกษาฟลักซ์ความร้อนผิวหน้าทะเลบริเวณอ่าวไทยในแต่ละเดือนในรอบปีโดยใช้ข้อมูลฟลักซ์ความร้อนเฉลี่ยรายเดือน 4 ชนิด คือ ความร้อนจากการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ ความร้อนจากการนำและการพาความร้อน ความร้อนจากการแผ่รังสีกลับของน้ำทะเลและความร้อนจากการเปลี่ยนสถานะของน้ำ พบว่าผิวทะเลได้รับความร้อนจากฟลักซ์ความร้อนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์มีค่าสูงสุดในเดือนมีนาคม (256.85 W/m2) และมีค่าต่ำสุดในเดือนตุลาคม (174.4 W/m2) ฟลักซ์ความร้อนจากการแผ่รังสีกลับของน้ำทะเลทำให้เกิดการ สูญเสียความร้อนจากผิวหน้าทะเลต่ำสุดในเดือนสิงหาคม (-32.02 W/m2) และสูงสุดในเดือนมีนาคม (-50.43 W/m2) ฟลักซ์ความร้อนจากการนำและการพาความร้อนทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ (-10.83 W/m2) และสูงสุดในเดือนกันยายน (-20.08 W/m2) ฟลักซ์ความร้อนจากการเปลี่ยนสถานะของน้ำทำให้มีการสูญเสียความร้อนต่ำสุดในเดือนตุลาคม (-65.8 W/m2) และสูงสุดในเดือนธันวาคม (-113.02 W/m2) ค่าฟลักซ์ความร้อนรวมมีทิศทางจากอากาศลงสู่ทะเลตลอดทั้งปีโดยมีค่าสูงสุดในเดือนเมษายน (110.89 W/m2) และต่ำสุดในเดือนธันวาคม (5.43 W/m2) เฉลี่ยตลอดทั้งปีมีค่าเท่ากับ 60.28 W/m2 โดยอิทธิพลหลักมาจากการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการเปลี่ยนสถานะของน้ำ การแพร่กระจายเชิงพื้นที่ของฟลักซ์ความร้อนรวมที่ผิวหน้าทะเลในช่วงเวลาต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการระบายความร้อนที่ผิวทะเลโดยลม โดยพบว่าพื้นที่บริเวณท้ายลมมีแนวโน้มของการสูญเสียความร้อนมากกว่าพื้นที่บริเวณต้นลมเสมอ Surface heat fluxes exchanged between air and sea in the Gulf of Thailand (GoT) were investigated. Four major heat types including the Sun or short wave radiation (SWR), long wave (or back) radiation (LWR), sensible heat flux (SHF) and latent heat flux (LHF) were taken into consideration. The highest (256.85 W/m2) and the lowest (174.4 W/m2) heat gains of SWR to the sea surface occurred in March and October, respectively. Heat losses from the sea surface by LWR were largest in March (-50.43 W/m2) and lowest in August (-32.02 W/m2). SHF made maximum (-20.08 W/m2) and minimum (-10.83 W/m2) heat losses in September and February, respectively. LHF also moved heat via evaporation from the sea surface - the largest (-113.02 W/m2) in December and the lowest in October (-65.8 W/m2). Located in the tropical zone, GoT total heat fluxes directed from the air to the sea for about 60.28 W/m2 per year. The maximum (110.89 W/m2) and the minimum (5.43 W/m2) total heat gains in April and December, respectively, were mainly controlled by SWR and LHF. Seasonal variations in spatial distribution of total surface heat fluxes suggest that ventilating process by wind play a key role to heat loss from the sea surface. Larger heat loss always occurred leeward as a result.References
ปราโมทย์ โศจิศุภร ศุภชัย ตั้งใจตรง และ สมมาตร เนียมนิล (2546) สาระวิทยาศาสตร์ทางทะเล, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
วราทิพย์ วงศ์พินทุ, ระวีวรรณ นุชประมูล และ กนกวรรณ กัณหะกิติ (2544) ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเลในรอบปีของอ่าวไทย ด้วยทุ่นสำรวจสมุทรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2536-2537.ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 39 (หน้า 307-314) ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีข้อสนเทศสมุทรศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Gautam R.K. (1999) An analysis of the heat balance in the Gulf of Thailand using NOAA satellite data. Master’s thesis, School of Civil Engineering, Asian Institute of Technology.
Pickard, G.L. & Emery, W.J. (1990). Descriptive physical oceanography: An introduction, 5th ed., Butterworth-Heinemann, England.
Robinson, M. K. (1974). The physical oceanography of the Gulf of Thailand, Naga Expedition. In: NAGA Report Volume 3: Scientific Results of Marine Investigations of the South China Sea and the Gulf of Thailand 1959-1961. The University of California, Scripps Institution of Oceanography, La Jolla, California.
Stewart, R. H. (2005). Introduction to physical oceanography. Department of Oceanography, Texas A&M University, United States.