สัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้น ความสิ้นเปลืองพลังงาน และอัตราการระเหยน้ำจำเพาะของการอบแห้งผลหมากด้วยพลังงานความร้อนร่วม
Moisture Diffusivity Coefficient Specific Energy Consumption and Specific Moisture Extraction Rate of Betel Nut Drying Using Combined Thermal Energy
Keywords:
ผลหมาก , พลังงานความร้อนร่วม , สัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้น ความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ และอัตราการระเหยน้ำจำเพาะของการอบแห้งผลหมากไม่ผ่าซีกด้วยลมร้อน ไมโครเวฟ และลมร้อนร่วมกับไมโครเวฟ ที่ความเร็วลมเท่ากับ 1 เมตรต่อวินาที อุณหภูมิลมร้อนในช่วง 60 - 80 องศาเซลเซียส และกำลังคลื่นไมโครเวฟในช่วง 180 - 600 วัตต์ จากการทดลองพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นมีค่าอยู่ในช่วง 6.05 x 10-4 - 91.80 x 10-3 ตารางเซนติเมตรต่อนาที อัตราการระเหยน้ำจำเพาะมีค่าอยู่ในช่วง 0.0295 - 1.2978 กิโลกรัมต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะมีค่าอยู่ในช่วง 0.0063 - 1.1071 เมกกะจูลต่อกิโลกรัม The objective of this research is to determine the moisture diffusivity coefficient, specific energy consumption and specific moisture extraction rate of betel nut drying using hot air, microwave and hot air-microwave combination at the air flow rate of 1 m/s, the air temperature range of 60 - 80oC and microwave power of 180 - 600 W. The results show that the moisture diffusivity coefficient in rang of 6.05 x 10-4 – 91.80 x 10-3 cm2/min, specific moisture extraction rate of betel nut drying in rang of 0.0295 – 1.2978 kg/kWh and specific energy consumption in rang of 0.0063 - 1.1071 MJ/kg.References
กรมวิชาการเกษตร. หมาก [ออนไลน์]. [22 เมษายน 2553]. เข้าถึงได้จาก URL http : //it.doa.go.th/vichakan/ news.php?newsid=25.
จารุวรรณ กุลวิศว สมเกียรติ ปรัชญาวรากร และสมชาติ โสภณรณฤทธิ์. (2550). ผลของอุณหภูมิอบแห้งที่มีต่อสารระเหยง่ายและคุณภาพทางกายภาพของกล้วยแผ่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 30(4), 611-621.
เทวรัตน์ ทิพวยวิมล และสมยศ เชิญอักษร. (2550). การอบแห้งพริกชี้ฟ้าด้วยลมร้อนร่วมกับไมโครเวฟ. วารสารวิชาการเกษตร, 25(1), 46 -57.
สมชาติ โสภณรณฤทธิ์. (2540). การอบแห้งเมล็ดพืชและอาหารบางประเภท. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
นิรนาม. อนาคตหมากไทยจะเป็นอย่างไร [ออนไลน์]. [2 มกราคม 2553]. เข้าถึงได้จาก URL http://www.Positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=49268.
AOAC. (2005). Official methods of analysis. (18th edition). Washington, D.C. : Association of official analytical chemists.
Bala, B.K. (1997). Drying and storage of cereal grains. New Delhi : Oxford & IBH Publishing.
Brooker, D.B., Bakker-Arkema, F.W. and Hall, C.W. (1981). Drying cereal grains. (3rd edition). Westport, Connecticut : The AVI publishing company, Inc.
Crank, J. (1975). The mathematics of diffusion. London : Oxford University Press.
Gorjian, Sh., Tavakkoli. H. T., Khoshtaghaza1, M. H. and Nikbakht, A. M. (2011). Drying kinetics and quality of barberry in a thin layer dryer. Journal of Agriculturnal Science and Technology, 13, 303-314.