เทคโนโลยีการกำจัดสีในน้ำเสียอุตสาหกรรม

Color Removal Technology in Industrial Wastewater

Authors

  • วนิดา ชูอักษร

Abstract

เทคโนโลยีที่ใช้ในการกำจัดสีในน้ำเสียอุตสาหกรรม มีหลายวิธีได้แก่วิธีทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูง แต่มีข้อจำกัดคือการนำกลับมาใช้ใหม่จะต้องฟื้นฟูสภาพด้วยการเผาที่ความร้อนสูงซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง การใช้กระบวนการกรองด้วยเยื่อแผ่น ก็จะต้องควบคุมระดับความดันน้ำ อัตราการไหลของน้ำ ค่าความเป็นกรดด่างและอุณหภูมิ การสร้างตะกอนและการรวมตะกอนโดยใช้สารส้มปูนขาว และสารประกอบเหล็ก ก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง แต่จะมีกากตะกอนเกิดขึ้นในปริมาณมากซึ่งยุ่งยากในการนำไปกำจัดกระบวนการเฟนตัน ก็ต้องควบคุมความเข้มข้นของเหล็ก ความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ค่าอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรดด่างและระยะเวลาในการเกิด ปฏิกิริยา การใช้โอโซน ก็ต้องควบคุมอุณหภูมิ ความดัน ความเป็นกรดด่าง และความสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ เนื่องจากโอโซนจะทำปฏิกิริยากับสารบางชนิดทำให้เกิดเป็นสารก่อมะเร็ง ในการใช้เทคโนโลยีทางกายภาพและเคมีมีข้อจำกัด เนื่องจากมีการใช้สารเคมีในการกำจัดนอกจากจะสิ้นเปลืองแล้วตะกอนที่เกิดขึ้นมีปริมาณมากและเป็นการเพิ่มสารเคมีในสิ่งแวดล้อมด้วย การใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพ ได้แก่ การดูดซับสีด้วยสาหร่าย การย่อยสลายสีโดยใช้เชื้อราบางชนิด มีข้อจำกัดในเรื่องความสะดวกในการใช้งาน การเก็บรักษา การขนส่ง รวมถึงการควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับและการย่อยสลาย การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับน้ำเสียของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ต้องคำนึงถึงลักษณะน้ำเสีย ปริมาณน้ำเสียประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่าย ฯลฯ ในทางปฏิบัติควรมีการนำน้ำเสียมาทดสอบก่อนเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  The technology used in the removal of color in industrial wastewater. There are several ways that include the physical chemical and biological process Each approach has limitations that are different. The color adsorption with activated carbon is an effective way. The limitation is that regeneration need to ignite at high temperature, which is costly. Using a membrane filtration process need to control pressure, flow rate, pH and temperature of water. The coagulation and flocculation process using alum, lime and iron compounds is highly effective. But It has a large amount of sludge which is difficult to disposal. Fenton process need to control the concentration of iron, hydrogen peroxide, temperature, pH and duration of the reaction. Ozone need to control temperature, pressure, acidity and consumption of electricity. It may also affect the organisms in the water. Ozone reacts with certain substances that are carcinogen. Using physical and chemical technology have limitations. There are the cost of chemical treatments, the high volume of sludge and adding chemicals into the environment. The use of biotechnology are the color adsorption by algae and degradation by a fungus. There are limitations in the ease of use, storage, transportation, as well as the factors that influence the adsorption and degradation. Choosing the appropriate technology for each type of industrial wastewater. Regardless of the wastewater characteristic, flow-rate, treatment efficiency, cost, etc. In practice, the water should be tested prior to guide the selection of appropriate technology.

References

กัณฑรีย์ ศรีพงศ์พันธ์ุ. (2547). มลพิษทางน้ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กัลยา ศรีสุวรรณ. (2547). โมเดลการเกิดฟาวลิงของเมมเบรน สำหรับการกำจัดสีในกระบวนการบำบัดน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, วิศวกรรมเคมี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์. (2546). ของเสียอันตราย. ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

จิรเวท เจตน์จันทร์, อรชีรา เพ็ชร์ช้อย, พิลาณี ไวถนอมสัตย์, วราภรณ์ อภิวัฒนาภิวัต, ต่อพงศ์ กรีฑาชาติ และสาวิตรี จันทรานุรักษ์. (2552). การลดสีน้ำทิ้งที่มีลิกนินเป็นส่วนประกอบโดยเชื้อราเส้นใยสีขาว Datronia sp.KAPI0039. ใน. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 : สาขาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (น. 236-244). กรุงเทพฯ.

ชื่นจิต ชาญชิตปรีชา. (2542). การใช้สาหร่ายกำจัดสีและซีโอดีในน้ำทิ้งจากโรงงานสุราที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Badawy M.I. & Ali M.E.M. (2006). Fenton’s peroxidation and coagulation processes for the treatment of combined industrial and domestic wastewater. Journal of Hazardous Materials, 136, 961-966.

Bruce Seelig, Fred Bergsrud & Russell Derickson. (2007). Treatment Systems for Household Water Supplies Activated Carbon Filtration. Retrieved August 19, 2010 from http://www.ag.ndsu.edu/pubs/h2oqual/watsys/ae1029w.htm

Chulhwan Park, Myunggu Lee, Byunghwan Lee, Seung- Wook Kim, Howard A. Chase, Jinwon Lee & Sangyong Kim. (2007). Biodegradation and biosorption for decolorization of synthetic dyes by Funalia trogii. Biochemical Engineering Journal, 36, 59-65.

Debendra K. Sahoo & Rimpy Gupta. (2005). Evaluation of ligninolytic microorganisms for efficient decolorization of a small pulp and paper mill effluent. Process Biochemistry, 40, 1573-1578.

Dilek á F. B.,Taplamacioglu á H. M. & Tarlan E.(1999). Colour and AOX removal from pulping effluents by algae. Applied Microbiology and Biotechnology, 52, 585-591.

Downloads

Published

2023-02-22