ผลของความเค็มและไนไตรท์ต่อค่าออสโมลาลิตี้ของเลือด และการดูดซึมไนไตรท์เข้าสู่กระแสเลือดของกุ้งขาวแวนนาไม
Effects of Salinity and Nitrite on Hemolymph Osmolality and Nitrite Uptake of Hemolymph of White- Leg Shrimp, Litopenaeus vannamei Boone, 1931
Keywords:
ความเค็ม , ไนไตรท์ , ออสโมลาลิตี้ของเลือด , กุ้งขาวแวนนาไมAbstract
ทำการศึกษาผลของความเค็มและไนไตรท์ต่อค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดและการดูดซึมไนไตรท์เข้าสู่กระแสเลือดของกุ้งขาวแวนนาไม กุ้งขาวที่ใช้ทดลองมีน้ำหนักเฉลี่ย 12.42±1.69 กรัม และความยาวเฉลี่ย 11.25±0.78 เซนติเมตร ทำการทดลองโดยเลี้ยงกุ้งขาวในน้ำที่มีความเค็ม 4 ระดับคือ 5, 10, 20 และ 30 ppt และมีความเข้มข้นไนไตรท์ในน้ำเท่ากับ 40 ppm ทำการวัดค่า ออสโมลาลิตี้ และปริมาณไนไตรท์ในเลือดที่เวลา 24, 48 และ 96 ชั่วโมง พบว่าค่า ออสโมลาลิตี้ มีค่าเพิ่มขึ้นตามความเค็มของน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ที่ความเค็ม 5 ppt ค่าออสโมลาลิตี้ของกลุ่มควบคุมมีค่าสูงกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (P<0.05) โดยมีค่าออสโมลาลิตี้ เท่ากับ 579±7 และ 515±22 mOsm/kg ที่เวลา 48 ชั่วโมง และเท่ากับ 580±4 และ 509±22 mOsm/kg ตามลำดับ ที่เวลา 96 ชั่วโมง ส่วนการสะสมไนไตรท์ในเลือดพบว่าไนไตรท์มีการสะสมมากที่สุดที่ความเค็ม 5 ppt และเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเวลามากขึ้นปริมาณการสะสมไนไตรท์จะลดลงเมื่อความเค็มน้ำสูงขึ้น ปริมาณไนไตรท์ในเลือดที่เวลา 96 ชั่วโมง เท่ากับ 20.74±2.226, 13.50±1.86, 4.57±1.54 และ 2.98±1.08 ppm ที่ความเค็ม 5, 10, 20 และ 30 ppt ตามลำดับ ซึ่งที่ความเค็ม 5 และ 10 ppt มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ที่ความเค็ม 20 และ 30 ppt ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จากการศึกษาเป็นไปได้ว่าการเลี้ยงกุ้งที่ความเค็มต่ำจะมีโอกาสประสบปัญหาความเป็นพิษจากไนไตรท์มากกว่าการเลี้ยงกุ้งที่ระดับความเค็มสูงHemolymph osmolality and nitrite uptake to hemolymph of white-leg shrimp (Litopenaeus vannamei) were studied. The average body weigth and length of shrimps used in this experiment were 12.42±1.69 g and 11.25±0.78 cm, respectively. The white-leg shrimps were reared in four different salinities (5, 10, 20 and 30 ppt) with the concentration of nitrite at 40 ppm in each salinity. Osmolalities of hemolymph and nitrite uptake to hemolymph were measured at 24, 48 and 96 hour. The result showed that osmolality of hemolymph increased with salinities. At 5 ppt, the osmolality at 48 hour and 96 hour of the control group (579±7 and 580±4 mOsm/kg, respectively) were significantly higher than that of the experimental groups (515±22 and 509±22 mOsm/kg respectively) (P<0.05). The result on nitrite uptake to hemolymph showed that the highest concentration of nitrite in hemolymph was at 5 ppt. The hemolymph nitrite increased with times but decreased with increasing salinities. At 96 hour, the hemolymph nitrite levels were 20.74±2.26, 13.50±1.86, 4.57±1.54 and 2.98±1.08 ppm at salinities of 5, 10, 20 and 30 ppt, respectively. Hemolymh nitrite levels at 5 ppt and 10 ppt were significantly different (P<0.05); however, at 20 ppt and 30 ppt the hemolymph nitrate levels were not significantly different (P>0.05). It is possible that culturing of white-leg shrimp at low salinity may encounter more toxicity from nitrite than those of culturing at high salinity.References
สิริ ทุกข์วินาศ (2528). พิษเฉียบพลันของไนไตรท์และ แอมโมเนียต่อลูกสัตว์น้ำชายฝั่งวัยอ่อนบางชนิด. รายงานการสัมมนาวิชาการประจำปี 2528. สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา, กรมประมง.
อรุณี ผดุงขวัญ (2544) อิทธิพลของความเค็มระดับต่ำที่มีต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และสรีรวิทยาการหายใจของลูกกุ้งกุลาดำวัยอ่อน (Penaeus monodon Fabricius). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตภาควิชาวาริชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. 72 หน้า.
อุษา ลี้ประเสริฐ (2530). พิษเฉียบพลันของแอมโมเนียและไนไตรท์ต่ออาร์ทีเมียที่ระดับความเค็มต่างกัน. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน.
Appelbaum, S., Garada, J., & Mishra, J.K. (2002) Growth and survival of the white leg shrimp (litopenaeus vannamei) reared intensively in the brackish water of the Israeli Negev Desert. The Israeli Journal of Aquaculture- Bamidgeh, 54(1), 41-48.
Armstrong, D.A., Stepheson, M.J., & Knight, A.W. (1976). Acute Toxicity of Nitrite to Lavae of the Malaysia. Prawn, Macrobrachium rosenbergii, Aquaculture, 9, 39-46.
Briggs, M., Funge-Smith, S., Subasinghe, R., & Phillips, M. (2004). Introductions and movement of Penaeus vannamei and Penaeus stylirostris in Asia and the Pacific. FAO Regional Office for Asia and the Pacific. RAP Publication 2004/10:1–12.
Cheng, S.Y., & Chen, J.C. (2001) Join action of elevated ambiente and nitrie on hemolymph nitrogenous compounds and nitrogen excretion of tiger shrimp Penaeus monodon, Comparative Biochemistry and Physiology, Part C, 131:303-314.
Chen, J.C., & Lin, J.L. (1994). Osmolality and chloride concentration in the hemolymph of subadult Penaeus chinesis subjected to different salinity levels. Aquaculture 125: 167-174
Gardiner, M.S. (1972) Excretion: Ionic and Osmotic Regulation. In: The Biology of Invertebrates. McGraw-Hill, New York. 499-595 pp.
Senanan, W., Tangkrock-olan, N., Panutrakul, S., Barnette, P., Wongwiwatanawute, C., Niphonkit, N., & Anderson, D.J. (2007). The presence of the Pacific Whiteleg Shrimp (Litopenaeus vannamei, Boone, 1931) in the Wild in Thailand. Journal of Shellfish Research, 26(4), 1187-1192.