ผลของการใช้แป้งมันสำปะหลังเพื่อเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตในสูตรอาหารกุ้งต่อการเจริญเติบโตความแปรปรวนของขนาด อัตราการแลกเนื้อ ความถี่ในการลอกคราบ อัตราการรอด และดัชนีตับของกุ้งขาววัยรุ่น (Litopenaeus vannamei)
Effect of Cassava Starch Replacement as Carbohydrate Source in Shrimp Feed on Growth, Size Variation, Feed Conversion Ratio, Molting Frequency, Survival Rate and Hepatopancreatic Index of Litopenaeus vannamei Juvenile
Keywords:
แป้งมันสำปะหลัง , กุ้งขาว, คาร์โบไฮเดรตAbstract
ผลของการใช้แหล่งคาร์โบไฮเดรตจากแป้งมันสำปะหลังในอาหารทดแทนปลายข้าวและแป้งสาลีที่ระดับ 2.5%, 5.0% และ 7.5% ในสูตรอาหาร และชุดควบคุมที่ไม่มีการใช้แป้งมันสำปะหลังต่อการเจริญเติบโต ความแปรปรวนของขนาด อัตราการแลกเนื้อ ความถี่ของการลอกคราบ ดัชนีตับ และการรอดตายของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ด้วยการใช้กุ้งขาวขนาดความยาวเฉลี่ย 9.3 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 7.0 กรัม ในถังไฟเบอร์กลมความจุ 250 ลิตร ความหนาแน่น 70 ตัวต่อตารางเมตร ทำ 3 ซ้ำ ต่อชุดการทดลอง ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง อัตรา 5% ของน้ำหนักตัว เลี้ยงกุ้งเป็นเวลานาน 2 เดือน ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ สัปดาห์ ทำการนับจำนวนคราบกุ้งทุกวัน สุ่มชั่งน้ำหนักและวัดความยาวกุ้งขาวทุกๆ 12 วัน จนเลี้ยงครบ 60 วัน สุดท้ายทำการตรวจสอบความยาวและน้ำหนักกุ้งทุกตัวในแต่ละซ้ำการทดลองเพื่อนำมาหาค่าความแปรปรวนของขนาด ผลการทดลองพบว่า % ความยาวที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะด้านความยาวของทุกชุดการทดลองและชุดควบคุมไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ส่วนกุ้งกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีแป้งมันสำปะหลังในสูตรระดับ 2.5%, 5.0% และชุดควบคุมมีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของน้ำหนัก การเจริญเติบโตต่อวัน และ % น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน (p>0.05) โดยกุ้งทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นมีค่าพารามิเตอร์ดังกล่าวสูงกว่ากุ้งกลุ่มที่ได้อาหารสูตรที่ใช้แป้งมันสำปะหลัง 7.5% ในสูตร (p<0.05) ค่า % ความแปรปรวนของขนาดทั้งความยาวและน้ำหนัก อัตราการรอด และความถี่ในการลอกคราบ อัตราการแลกเนื้อ รวมทั้งค่าดัชนีตับของกุ้งทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p>0.05) Effects of the replacement of broken rice and wheat flour with cassava starch in feed formulation at the ration of 2.5%, 5.0% and 7.5% in feed formulation and control which without cassava starch on growth, size variation, feed conversion ratio (FCR), molting frequency (MF), hepatopancreatic index (HI) and survival rate of white shrimp (Litopenaeus vannamei) were studied. An average size of L. vannamei juvenile used for the study was 9.3 cm in total length and 7.0 g in body weight. They were cultured in 250 L fiber glass tanks at density of 70 ind/m2 for 2 months. Three replications were performed. They were fed three times a day at 5% body wet weight. Weekly exchange of water, daily check for number of molted shrimp, weight and length examination every 12 days were operated throughout 60 days of culture. Finally, weight and length of each shrimp from each replication was evaluated for size variation. The results showed that % length gain and specific growth rate of length of shrimps were not significantly different (p<0.05) among groups. Average daily growth, % weight gain and specific growth rate of weight were not significantly different (p>0.05) among shrimps fed on feed which were substituted by cassava starch at 2.5% and 5.0% in feed formulation and control. However, their values of these parameters were significantly higher (p<0.05) than that of shrimp fed on 7.5% cassava starch in feed formulation. Values of % size variation, survival rate and molting frequency, food conversion ratio including hepatopancreatic index were not significantly different (p>0.05) among groups.References
สว่างพงษ์ สมมาตร และบุญรัตน์ ประทุมชาติ. (2551). ผลของความเค็มน้ำต่อการเปลี่ยนแปลงออสโมลาลิตี้ในเลือด และความเข้มข้นของแร่ธาตุ 9 ชนิด ในพลาสมาของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei). การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 46 (หน้า 109-118). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชัย สราญรมย์. (2528). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมันสำปะหลัง. สำหรับการศึกษาระดับปริญญา. วิทยาลัยครูจันทบุรี. จันทบุรี. 417 หน้า.
พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. (2539). หลักอาหารสัตว์ เล่ม 2. หลักโภชนาศาสตร์และการประยุกต์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 576 หน้า
ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร. (2540). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 168 หน้า.
อรพินท์ จินตสถาพร. (2546). การลดอาหารสัตว์น้ำด้วยมันสำปะหลัง. ในอุทยานเทคโนโลยี 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
AOAC (Association of Official Analysis Chemists). (1984). Official Methods of Analysis Chemist (14th ed.) Association of Official Analysis Chemists, Arlington, VA
Bombeo-Tuburan, I., Fukumoto, S., & Rodriguez, E.M. (1995). Use of the golden apple snail, cassava, and maize as feeds for the tiger shrimp, Penaeus monodon, in ponds. Aquaculture 131, 91-100.
Colvin, L.B., & Brand, C.W. (1977). The protein require-ment of penaeid shrimp at various life cycle stages in controlled environment systems. Proceeding of World Mariculture Society 8, 821-840.
Knight, J.W. (1969). The Starch Industry. Pergamon Press, Oxford. 189 p.
Pascual, F.P., Coloso, R.M., & Tamse, C.T. (1983). Survival and some histological changes in Penaeus monodon Fabricius juveniles fed various carbo-phydrates. Aquaculture 31, 169-1