การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตหอยแมลงภู่ที่เลี้ยงด้วยวิธีแขวนแบบแพเชือกเดี่ยว และแพเชือกถัก บริเวณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
A Comparative Study of Perna viridis Production between Long-line and Raft Culture Methods at Siracha District, Chonburi Province
Keywords:
หอยแมลงภู่, คลอโรฟิลล์ เอ , ผลผลิตขั้นต้น คAbstract
ศึกษาผลผลิตขั้นต้นและมวลชีวภาพในแพหอยแมลงภู่สองรูปแบบคือ แพเชือกเดี่ยว และแพเชือกถัก บริเวณอ่าวศรีราชา จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2549 พบว่าผลผลิตขั้นต้นในแพเชือกเดี่ยวและแพเชือกถักมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.49±0.79 และ 0.99±0.76 กรัมคาร์บอน/ลูกบาศก์เมตร/วัน ตามลำดับ ผลผลิตขั้นต้นในแพเชือกเดี่ยวมากกว่าแพเชือกถักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การเติบโตของหอยแมลงภู่ในแพเชือกเดี่ยวและแพเชือกถัก ได้แก่ ความยาวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 76.61±5.55 และ 72.39±4.51 มิลลิเมตร, น้ำหนักหอยทั้งตัว 20.05±2.55 และ 15.61±2.88 กรัม, และน้ำหนักเนื้อหอย 10.76±1.47 และ 8.32±1.93 กรัม ตามลำดับ น้ำหนักหอยทั้งตัวและน้ำหนักเนื้อหอยของแพเชือกเดี่ยวมีค่ามากกว่าแพเชือกถักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เนื่องจากแพเชือกเดี่ยวมีอาหารสำหรับหอยแมลงภู่มากกว่าส่งผลให้มีการเติบโตและน้ำหนักมากขึ้น The production of Perna viridis biomass in two types of culture methods, the long-line and the raft, was investigated for 8 months during January to August 2006 at Si Racha District, Chonburi Province. The average primary production in the long-line and the raft were 1.49±0.79 and 0.99±0.76 gC/m3/d, respectively. Primary production in the long-line was singnificantly higher than in the raft (P<0.05). The average of shell length, total weight and soft tissue weight in long-line and raft culture methods were 76.61±5.55 and 72.39±4.51 millimeters, 20.05±2.55 and 15.61±2.88 g, and 10.76±1.47 and 8.32±1.93 g respectively. The average of total weight and soft tissue weight of the mussels in the long-line have been found significantly higher than those in the raft (P<0.05). These results indicated that the more food suppied in the long-line the more growth of mussel increased.References
มณฑล อนงค์พรยศกุล และภูวดล โดยดี. (2549). การศึกษาการแพร่กระจายพื้นที่เลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพหอยโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณอ่าวอุดม จังหวัดชลบุรี. ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เสนอสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน). 31 หน้า.
สุขศรี สัมภวะผล และพงศ์ธร อินทร์อักษร. (2544). ชนิดและปริมาณแพลงค์ตอนบริเวณแหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่ จังหวัดชุมพร. เอกสารวิชาการฉบับที่ 23/2544. สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดชุมพร ตำบลชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. 66 หน้า.
อำพัน เหลือสินทรัพย์. (2524). ผลผลิตขั้นต้นในอ่าวไทย. วารสารการประมง, 34(2), 185-199.
Bacher, C. (1989). Capacite trophique du basin de Marennes-Oleron: couplage d’un modele de croissance de I’huitre Crassostrea gigas. (Trophic capacity of the Bay of Marennes-Oleron: coupling of particulate matter transport with a model of Crassostrea gigas growth). Aquatic Living Resources 2, 199-214.
Bacher, C., Sochard, S., Freissinet, C., & Sauvaget, P. (2000). Vers une modelisation operationnelle pour I’amenagement des zones cotires: I’example du basin de Marennes-Oleron (France). La Houille Blanche 7/8, 66-33
Ferreira, J.G., Hawkins, A.J.S., & Bricker, S.B. (2007). Management of productivity, environment effects and profitability of shellfish aquaculture-the Farm Aquaculture Resource Management (Farm) model. Aquaculture. 264, 160-174.
Jeffrey, S.W., Mantoura, R.F.C., & Wright, S.W. (1997). Phytoplankton pigments in oceanography: guidelines to modern methods. UNESCO Publishing. 661 pp.
Grasshoff, K., Kremling, K., & Ehrhardt, M. (1999). Determination of dissolved organic carbon and nitrogen by high temperature combustion. Method of Seawater Analysis. 407-444.
Heasman, K.G., Pitcher, G.C., Mcquaid, C.D., & Hecht, T. (1998). Shellfish mariculture in the Banguela system: raft culture of Mytilus galloprovincialis and the effect of rope spacing on food extraction, growth rate, production and condition of mussels. Journal of shellfish Research, 17, 33-39.
Karayucel, S., & Karayucel, I. (2000). The effect of environment factors, depth and position on the growth and mortality of raft-cultured blue mussels (Mytilus edulis L.). Aquaculture Research, 31, 893-899.