สมบัติของแผ่นใยไม้อัดจากใยมะพร้าวกับโฟมพอลิสไตรีนผสมสารหน่วงไฟ

Properties of Fiberboard Made from Coconut Coir/Polystyrene Foam Containing Flame Retardant

Authors

  • มาลินี ชัยศุภกิจสินธ์
  • ทิพย์รัตน์ พิฑูรทัศน์
  • พนิดา พุทธชาดสมบัติ
  • รัชมาลิณี สุเริงฤทธิ์

Keywords:

โฟมพอลิสไตรีน , สารหน่วงไฟ , แผ่นใยไม้อัด

Abstract

ศึกษาความสามารถหน่วงไฟของสารเคมี 3 ชนิด Na2HPO4, Mg(OH)2 และ H3BO3 ที่ผสมในแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่น 0.3 กรัม/ลบ.ซม. เตรียมแผ่นใยไม้อัดจากการผสมระหว่างเส้นใยมะพร้าวกับโฟมพอลิสไตรีนเหลือทิ้งในอัตราส่วนเส้นใยมะพร้าวต่อโฟมพอลิสไตรีน 85/15 โดยน้ำหนัก ใช้กาวฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์ 15% ขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ผลการทดลองพบว่า แผ่นใยไม้อัดที่ไม่ผสมสารหน่วงไฟมีอัตราการเผาไหม้ 1.85 มิลลิเมตรต่อนาที แผ่นใยไม้อัดที่มี Mg(OH)2 หรือ Na2HPO4 สามารถหยุดการเผาไหม้ด้วยตนเอง และแผ่นใยไม้อัดที่มี Mg(OH)2 ผสมกับ Na2HPO4 ในปริมาณเท่ากันไม่เกิดการเผาไหม้ มอดุลัสยืดหยุ่นของแผ่นใยไม้อัดผสมสารหน่วงไฟเรียงลำดับดังนี้ Mg(OH)2 > Mg(OH)2 ผสมกับ Na2HPO4 > Na2HPO4 และสมบัติการพองตัวทางความหนาของแผ่นใยไม้อัดเรียงลำดับได้ดังนี้ Na2HPO4 > Mg(OH)2 ผสมกับ Na2HPO4 > Mg(OH)2 ไม่สามารถเตรียมแผ่นใยไม้อัดโดยใช้ฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์กับเส้นใยที่มี H3BO3   The flame retardant ability of 3 chemical reagents, Na2HPO4, Mg(OH)2 and H3BO3 on 0.3 g/cm3 fiberboard were studied. Fiberboard was prepared between coconut coir and waste polystyrene foam at the ratio of coconut coir and waste polystyrene foam 85/15 by weight. 15% of phenol-formaldehyde was used as binder and samples were hot pressed at 100 oC for 10 minutes. The experimental results found that burning rate for fiberboard without flame retardants was 1.85 mm./minutes. Fiberboard mixed with Mg(OH)2 or Na2HPO4 provided self-extinguishing property. Unburned property was found in fiberboard containing the equivalent of Mg(OH)2 + Na2HPO4. Modulus of elasticity for fiberboard mixed with flame retardants showed in this order: Mg(OH)2 > Mg(OH)2 + Na2HPO4 > Na2HPO4. Thickness swelling property showed in this order Na2HPO4 > Mg(OH)2 + Na2HPO4 > Mg(OH)2. It was found that fiberboard can not prepared from phenol formaldehyde and H3BO3.

References

มาลินี ชัยศุภกิจสินธ์ สิรินันท์ วิริยะสุนทร และสุพรรณษา ออกสุข. (2547). แผ่นใยไม้อัดชนิดใหม่จากเส้นใยชานอ้อยผสมโฟมพอลิสไตรีน. วารสารวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 26(1), 99-106.

มาลินี ชัยศุภกิจสินธ์ และประวิทย์ อรุณโชควัฒนา. (2550). ผลของขนาดเส้นใยมะพร้าวที่มีต่อสมบัติของแผ่นใยไม้อัดทำจากเส้นใยมะพร้าวผสมโฟมพอลิสไตรีนเหลือทิ้ง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 16(1), 47-59.

มาลินี ชัยศุภกิจสินธ์ และประวิทย์ อรุณโชควัฒนา. (2551). สมบัติเชิงกล สมบัติกายภาพ และการดูดซึมเสียงของแผ่นใยไม้อัดผสมเปรียบเทียบระหว่างเส้นใยอ้อยและเส้นใยมะพร้าว. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 17(1), 74-85.

มาลินี ชัยศุภกิจสินธ์ วรางคณา วงศ์สิโรจน์กุล อภิสรา เรืองกุล และอรนลิน ศิริวรรณ. (2550). แผ่นดูดซึมเสียงจากวัสดุประกอบเส้นใยมะพร้าวผสมโฟมพอลิสไตรีน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 15(2), 54-60.

ประภาพรรณ หมั่นทำ อรพิม กาญจนรัตน์ และรชตะ ละม้ายอินทร์. (2549). โครงงานพิเศษระดับปริญญาตรี การศึกษาสมบัติการกั้นเสียง สมบัติเชิงกล และสมบัติทางกายภาพของแผ่นใยไม้อัดจากใบสับปะรด และโฟมพอลิสไตรีน คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Ajiwe, V.I.E., & Okeoke, C.A. (1998). A Pilot Plant for Production of Ceiling boards from Rice Husks. Bioresource Technology, 66, 41-43.

Chaisupakitsin, M., & Apichatsopit, T. (2005). The Role of Recycle Waste Polystyrene Foam on Physical and Mechanical Properties of Novel Ceiling Boards. Thammasat International Journal of Science and Technology, 10(3), 9-17.

Chaisupakitsin, M., & Apichatsopit, T. (2006). Acoustical Properties of Ceiling Boards made from the Mixtures of Bagasses and Wasted polystyrene. Journal of the National Research Council of Thailand, 38(1), 1-12.

Han, G., Zhang, C., Zhang, D., Umemura, K., & Kawai, S. (1998). Upgrading of Urea-formaldehyde – bonded Reed and Wheat Straw Particleboards using Silane Coupling agents. Journal of Wood Science, 44, 282-286.

Horrocks, A.R., & Price, D. (2001). Fire Retardant Material Institute of Natural Fibers, (pp.55-300). Pozan. Poland.

Downloads

Published

2023-02-23