การเปลี่ยนแปลงในวัฏจักรน้ำขึ้นน้ำลงของกระแสน้ำ อุณหภูมิและความเค็มของน้ำทะเล บริเวณแหลมแท่น จังหวัดชลบุรี ในช่วง 2 ฤดูมรสุม
Variations in a Tidal Cycle of Current, Temperature and Salinity of Seawater at Laem Tan, Chonburi in the Two Monsoon Seasons
Keywords:
สมุทรศาสตร์ , อุณหภูมิ, ความเค็ม, น้ำขึ้นน้ำลง, แหลมแท่นAbstract
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความเค็ม และกระแสน้ำ ตามวัฏจักรของน้ำขึ้นน้ำลงที่บริเวณแหลมแท่น จังหวัดชลบุรี ในช่วงวันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2551 และ 11 – 12 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นตัวแทนของฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลมีค่าสูง (30.41±0.26 oC) ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย และมีค่าต่ำ (24.95±0.24 oC) ในเดือนธันวาคมซึ่งตรงกับฤดูหนาว สำหรับการเปลี่ยนแปลงความเค็มพบว่าในช่วงเดือนสิงหาคมซึ่งเป็นฤดูฝน ความเค็มที่ตรวจวัดได้ (27.31±0.43 psu) มีค่าต่ำกว่าในเดือนธันวาคม (32.26±0.11 psu) การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสมุทรศาสตร์ในรอบของน้ำขึ้นน้ำลง พบว่าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ แต่การเปลี่ยนแปลงความเค็มมีลักษณะที่ซับซ้อนกว่าโดยมีแนวโน้มไปในทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำขึ้นน้ำลงมีทิศทางหลักคือทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ในทั้งสองช่วงเวลา ความเร็วสูงสุดของกระแสน้ำมีค่าเท่ากับ 27.0 cm/s และ 23.6 cm/s ในช่วงเดือนสิงหาคมและเดือนธันวาคม ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าระดับน้ำและกระแสน้ำขึ้นน้ำลงที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา พบว่าคลื่นน้ำขึ้นน้ำลงเป็นชนิด Progressive Wave และเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ศึกษาจากทางด้านทิศเหนือ ปรากฏการณ์นี้ใช้ในการอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงความเค็มของมวลน้ำในพื้นที่ได้อย่างสอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการเคลื่อนที่สุทธิของมวลน้ำจากจุดที่ตรวจวัดมีทิศออกจากฝั่งในทั้งสองช่วงเวลาเช่นเดียวกัน This research was conducted to investigate variations in a tidal cycle of temperature, salinity and current, measured in a tidal cycle during 29 – 30 August 2008 and 11 – 12 December 2008 at Laem Tan, Chonburi. Average seawater temperature was high (30.41±0.26 oC) in August and low in December (24.95±0.24 oC) corresponding to summertime and wintertime, respectively. Average salinity was low in August (27.31±0.43 psu) and high in December (32.26±0.11 psu) due to rainy and dry seasons, respectively. Variations in a tidal cycle scale indicated that water temperature was controlled by sunrise and sunset while salinity changes corresponded to tidal elevation, but not always. This suggested that salinity variations be related to several factors instead of one. Tidal currents had two major directions, the north and the southwest, and maximum current speeds are 27.0 cm/s and 23.6 cm/s in August and December, respectively. Relationship on temporal changes between tidal elevation and tidal current suggested that the tidal wave in this area be categorized as Progressive Wave approaching the area from the north. This phenomenon was well used to explain the salinity changes in a tidal cycle. Progressive vector diagrams were also created, and they showed that total water displacements were offshore in both periods.References
ฉลวย มุสิกะ วันชัย วงสุดาวรรณ อาวุธ หมั่นหาผล และแววตา ทองระอา. (2550). สถานการณ์คุณภาพน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ปี 2548. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 12(1), 33-44.
แววตา ทองระอา. (2541). การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำบางประการในขณะเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬบริเวณชายฝั่งจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 6(1), 35-52.
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล. (2549). รายงานการวิจัยโครงการเฝ้าระวังและการวางแนวทางป้องกันการเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬในบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
Gunboa, V., Paphavasit, N., & Piumsomboon, A. (2009). Spatial and temporal variations in environmental factors in Bangpakong estuary. Proceedings 35th Congress on Science and Technology of Thailand, CD-ROM.
Pond, S., & Pickard, G.L. (1983). Intoductory Dynamical Oceanography (2nd ed.). Wiltshire: Elsevier Butterworth Heinemann.
Yanagi, T. (1999). Coastal Oceanography. Tokyo: Terra Scientific.