ผลของวัสดุรองพื้นต่างชนิดกันที่มีต่อการเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิช Cherax destructor (Clark, 1936)

Effects of Different Types of Substrates on Growth of Crayfish Cherax destructor (Clark, 1936)

Authors

  • ณัฐวัฒน์ งามสม
  • นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร

Keywords:

วัสดุรองพื้น , กุ้งเครย์ฟิช, การเจริญเติบโต, substrate, growth, crayfish, Cherax destructor

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของวัสดุรองพื้นที่แตกต่างกัน 3 แบบ คือ ดินแบล็คเอิร์ธ หินนิลดำ และไม่มีวัสดุรองพื้น ที่มีต่อน้ำหนัก ความยาวลำตัว การลอกคราบ และการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักของกุ้งเครย์ฟิช C. destructor กุ้งเครย์ฟิชที่ใช้ ในการทดลองมีน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้นเท่ากับ 0.29±0.02 กรัม และความยาวลำตัวเฉลี่ยเริ่มต้นเท่ากับ 1.87±0.10 เซนติเมตร ตามลำดับ ทำการทดลองเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชในตู้กระจกที่มีวัสดุรองพื้นแต่ละชนิดที่อุณหภูมิ 27 ºC ทำการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก ความยาวลำตัว การลอกคราบ และการเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก เมื่อเริ่มต้น และสิ้นสุดการทดลอง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า น้ำหนักของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงในตู้ที่มีดินแบล็คเอิร์ธ หินนิลดำ และไม่มีวัสดุรองพื้น มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.02±0.31, 3.47±0.23 และ 2.57±0.39 กรัม ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และการลอกคราบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.33±0.71, 5.89±0.33 และ 3.78±1.09 ครั้ง ตามลำดับ ซึ่งไม่พบความแตกต่างระหว่างดินแบล็คเอิร์ธและหินนิลดำ แต่ทั้งดินแบล็คเอิร์ธและหินนิลดำมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับไม่มีวัสดุรองพื้น สำหรับการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงในตู้ที่มีดินแบล็คเอิร์ธ หินนิลดำ และไม่มีวัสดุรองพื้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.047±0.007, 0.054±0.005 และ 0.040±0.007 กรัม/วัน ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการศึกษาทดลองครั้งนี้จะเห็นได้ว่าวัสดุรองพื้นต่างชนิดกันมีผลทำให้กุ้งเครย์ฟิช C. destructor มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก ความยาวลำตัว การลอกคราบ และการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยชนิดของวัสดุรองพื้นที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช C. destructor มากที่สุดคือ หินนิลดำ รองลงมาคือ ดินแบล็คเอิร์ธ และไม่มีวัสดุรองพื้น ตามลำดับ  This research was to study the effect of different substrates (black earth soil, black Japanese pebble, and no substrate) on weight, length molting and growth rates (body weight) of crayfish C. destructor. Crayfishes used in the experiment had an average weight of 0.29±0.02 g and an average length of 1.87±0.10 cm.  Crayfishes were reared in glass aquarium tanks with different substrates at 27º C. The change in weight, length, molting and growth rates (body weight) were measured at the beginning and end of the experiment for eight weeks. It has been found that the growth rates (body weight) of crayfish reared in the tank with black earth soil, black Japanese pebble, and no substrate were 0.047±0.007, 0.054±0.005 and 0.040±0.007 g/day, respectively, which were statistically different (p <0.05). The mean weight changes were 3.02±0.31, 3.47±0.23 and 2.57±0.39 g, respectively, which were statistically different (p <0.05).  The mean length changes were 3.64±0.23, 4.62±0.26 และ 2.94±0.60 cm, respectively, which were statistically significantly different (p <0.05) The number of molts was an average of 5.33±0.71, 5.89±0.33 และ 3.78±1.09 times, respectively, with no significant difference between black earth soil and black Japanese pebble but the black Japanese pebble and black earth soil are statistically significant difference with the one that no substrate. Therefore, it is concluded that different substrates affect the change in weight, length molting and growth rate (body weight). The most suitable substrate for rearing crayfish C. destructor is the black Japanese pebble followed by black earth, soil and no substrate.

References

Beatty S.J., Morgan D.L.and Gill H.S. (2005). Role of Life History Strategy in the Colonisation of Western Australian Aquatic Systems by the Introduced Crayfish Cherax destructor (Clark, 1936). Hydrobiologia, 549(1),219 –237.

Habashy, M.M. and Sharshar, K. M. (2020). On some factors affecting molting and growth rate of the giant freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii (De Man, 1879). Egyptian Journal of Aquatic Biology & Fisheries, 24(2),163-175.

Jones, C.M. (1990). The Biology and Aquaculture Potential of the Tropical Freshwater Crayfish, Cherax quadricarinatus. Report No. QI90028. Department of Primary Industries, Queensland, Brisbane, Australia. 109 pp.

Karplus I. and Barki, A. (2004). Social control of growth in the redclaw crayfish, Cherax quadricarinatus: testing the sensory modalities involved. Aquaculture, 242, 321–333.

Kawai, T., Faulkes, Z. and Scholtz, G. (2016). Freshwater Crayfish: A Global Overview. CRC Press, Taylor & Francis Group, A Science Publishers Book, 512 pp.

Kuypers, M.M.M., Marchant, HK and Kartal, B (2011). "The Microbial Nitrogen-Cycling Network". Nature Reviews Microbiology,1(1), 1–14.

Lovell, R. T. (1998) Nutrition and Feeding of Fish. Second edition. Kluwer Academic Publishers, Massachusetts, 267 pp.

Nguansoongnern, P (2009). Culture of Crayfish using Soil as Substrate. Special Problem, Aquaculture of Fishery, Maejo University At Chumphon, 63 pp. (in Thai).

Downloads

Published

2023-03-10