การประยุกต์ใช้แบบจำลองเชิงตัวเลขสำหรับการไหลเวียนของกระแสน้ำบริเวณหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้

Application of Numerical Model for Water Circulation around Had Khanom-Mu Ko Thale Tai

Authors

  • นิคม อ่อนสี
  • ปราโมทย์ โศจิศุภร

Keywords:

การไหลเวียนของกระแสน้ำ , แบบจำลองเชิงตัวเลข , หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้, water circulation, numerical model, Had Khanom – Mu Ko Thale Tai

Abstract

ประยุกต์ใช้แบบจำลองเชิงตัวเลข RMA2 เพื่อจำลองการไหลเวียนของกระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ในช่วงปี พ.ศ. 2551 พื้นที่ศึกษาครอบคลุมอ่าวไทยซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ผ่านทางขอบเขตเปิดที่ปากอ่าว ขอบเขตเปิด (open boundary) ทางฝั่งตะวันตกเริ่มจากปลายแหลมบางนรา จังหวัดนราธิวาสของประเทศไทย ผ่านเกาะฮอนโทชัวที่ปากอ่าวไทยแล้วไปชนฝั่งประเทศเวียดนามที่ปลายแหลมฮาเตียน มีข้อมูลนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลระดับน้ำขึ้นน้ำลงรายชั่วโมง ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2551 ซึ่งได้จากค่าฮาร์โมนิคของระดับน้ำที่สถานีวัดระดับน้ำ บางนรา เกาะฮอนโทชัว และเมืองฮาเตียนเป็นตัวแทนระดับน้ำที่ขอบเขตเปิด (Open Boundary) ผลการจำลองกระแสน้ำพบว่า กระแสน้ำบริเวณหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ ไหลขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในช่วงน้ำขึ้น และไหลลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงน้ำลง โดยความเร็วของกระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลงให้ผลสอดคล้องกับผลการตรวจวัดจริง โดยใช้เครื่องวัดกระแสน้ำ ADCP ที่บริเวณร่องน้ำระหว่างเกาะวังในกับเกาะวังนอก บริเวณเกาะแตน และร่องน้ำระหว่างเกาะแตนกับเกาะสมุยซึ่งตรวจวัดในช่วงวันที่ 1-4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551  A 2-D numerical model called RMA2 was applied to simulate tidal current in Had Khanom – Mu Ko Thale Tai during 2008. The model domain covered the Gulf of Thailand which connected to South China Sea via an open boundary at the mouth of the gulf. The open boundary started from the end Cape Bang Nara, Naratiwat Province, Thailand to the west, passed through Hontochua Island at the gulf entrance and ended at Cape Hatien of Vietnamese coast to the east. Water level at the open boundary for the year 2008 was computed from the tidal harmonic constituents at Bang Nara, Hontochua and Hatien tide guage stations. Numerical model results showed that tidal current around Had Khanom – Mu Ko Thale Tai flowed northwestwards during flood period and southeastwards during ebb period. The current speeds and directions from the model at the channel between Ko Wang Nai and Ko Wang Nok, south of Ko Taen, and the channel between Ko Taen and Ko Samui were comparable to the observed ones which were measured by using an ADCP during 1-4 November 2008.

References

กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. (2551). มาตราน้ำน่านน้ำไทย. กรุงเทพฯ.

สุนัน ผาสุข และปราโมทย์ โศจิศุภร. (2548). การประยุคต์ใช้แบบจำลองเชิงตัวเลขสำหรับการไหลเวียนของน้ำ และการแพร่กระจายความเค็มในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์ (Section T), 4(2), 112-117.

Hydrographic Department. (1968). The type of tides and currents in the Gulf of Thailand. Royal Thai Navy.

Manh, D.V. and Yanagi, T. (1997) A three-dimensional numerical model of tides and tidal currents in the Gulf of Tongking. La mer, 35, 15-22.

Pukasab, P., & Pochanasomburana, P. (1957). The types of tides and mean sea level in the Gulf of Thailand. The proceedings of the Ninth Pacific Science Congress.

Tee, K.T. (1980). The Structure of Three-Dimension Tide-Induced Current, Part II, Residual Current. Journal of Physical Oceanography, 10, 2035-2057.

United Kingdom Hydrographic Office. (2004). Admiralty Tide Tables, Volume 3: Indian Ocean & South China Sea (including Tidal Stream Tables).

Yanagi, T., Takao, T., & Morimoto, A. (1997). Co-tidal and co-range charts in the South China Sea derived from satellite altimetry data. La mer, 35, 85-93.

Yanagi, T., & Takao, T. (1998). Clockwise phase propa-gation of semi-diurnal tides in the Gulf of Thailand. Journal of Oceanography, 54, 143-150.

Downloads

Published

2024-06-12