การพัฒนาวิธีการบำบัดสีอะมิโดแบล็คด้วยการดูดซับ/ตะกอนเร่ง

Development of Amido Black Treatment Using Adsorption/Activated Sludge

Authors

  • สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
  • รัตติชล ศิริโรจน์มหาวงษ์
  • วีรพงศ์ วุฒิพันธ์ุชัย

Keywords:

สีอะมิโดแบล็ค , การดูดซับ , ตะกอนเร่ง , สภาวะที่มีออกซิเจน, Amido black, Adsorption, Activated sludge, Aerobic condition

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาการกำจัดสีอะมิโดแบล็คโดยการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์เพียงอย่างเดียวและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ต่อเนื่องด้วยการย่อยสลายด้วยตะกอนเร่งภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน (แบบผสมผสาน) ผลการทดลองพบว่าถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพในการดูดซับสีอะมิโดแบล็คได้ดีแต่จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสีเริ่มต้น โดยถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพในการดูดซับสีอะมิโดแบล็คที่มีความเข้มข้น 1 มิลลิโมลาร์ได้ดีที่สุด รองลงมา คือ 2 มิลลิโมลาร์ แต่ยังคงพบสารสีที่คงเหลือหลังจากการดูดซับทั้ง 2 ความเข้มข้น จากนั้นเมื่อนำสารที่ผ่านการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์มากำจัดต่อเนื่องด้วยตะกอนเร่งภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนเป็นระยะเวลา 7 วัน พบว่าวิธีการกำจัดแบบผสมผสานสามารถกำจัดสีอะมิโดแบล็คที่ความเข้มข้น 1 และ 2 มิลลิโมลาร์ได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่มีสารสีหลงเหลืออยู่ ดังนั้นจากการศึกษาสรุปได้ว่าการกำจัดสีอะมิโดแบล็คด้วยวิธีผสมผสานน่าจะเป็นวิธีที่นำมาใช้ในการกำจัดน้ำเสียที่มีสีย้อมปนเปื้อนโดยเฉพาะมีประสิทธิภาพดีเมื่อสีมีความเข้มข้น 1 และ 2 มิลลิโมลาร์ เนื่องจากกำจัดสีได้สมบูรณ์จากการตรวจวัดของความยาวคลื่นระหว่าง 350-700 นาโนเมตร อย่างรวดเร็วภายใน 1 วันของการทดลองเท่านั้น  Removal of amido black using adsorption only and adsorption with activated carbon sequenced by degradation with aerobic activated sludge was studied. Results concluded that activated carbon showed ability for amido black removal; however, its efficiency was depended on the initial concentration of dye. Activated carbon showed the highest efficacy for 1 mM amido black, in the less extent was 2 mM. However, the filtrates from 1 and 2 mM amido black treated with activated carbon adsorption showed some dye residues. In the next step, the filtrate from adsorption treatment was mixed with aerobic activated sludge for 7 days. Results showed that activated sludge was able to eliminate the dye residues in the amido black at 1 and 2 mM samples, respectively. Thus, this study concluded that the removal of amido black using adsorption with activated carbon sequenced by degradation with aerobic activated sludge showed the appropriate treatment in 1 and 2 mM amido black solution because amido black was adsorbed and then degraded completely within (in a range of 350 – 700 nm) 1 day of the experiment.

References

เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์. (2547). วิศวกรรมการบำบัดน้ำเสีย. นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

กัลยาณี จิรศรีพงศ์พันธ์. (2550). การกำจัดสีอะโซและสารก่อมะเร็งอะโรมาติคเอมีนในน้ำทิ้งโดยจุลินทรีย์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 27(1), 164-182.

นันธิกา ตันติวรสิทธิ์. (2549). การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียสีย้อมแบบผสม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งโรจน์ วงศ์อนุรักษ์ชัย. (2545). การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมผลิตสีย้อมและการย่อยสลายสีย้อมกลุ่มอะโซบางชนิดโดยจุลินทรีย์ผสม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุบัณฑิต นิ่มรัตน์. (2548). จุลชีววิทยาของน้ำเสีย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

APHA-AWWA-WPCF. (1981). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. (15). Washington DC: American Public Health Association.

Asad, S., Amoozegar, M. A., Pourbabaee, A. A., Sarbo-louki, M. N., & Dastgheib, S. M. M. (2007). Decol-orization of textile azo dyes by newly isolated halophilic and halotolerant bacteria. Bioresource Technology, 98, 2082-2088.

Babel, S., & Kurniawan, T. A. (2003). Low-cost adsorbents for heavy metals uptake from contaminated water. Journal Hazardous Water, 97, 219-243.

Balan, D. S. L., & Monteneiro, R. T. R. (2001). Decolorization of textile indigo dye by ligninolytic fungi. Journal of Biotechnology, 89, 141-145.

Brown, D., & Laboureur, P. (1983). The aerobic biodegradability of primary aromatic amines. Chemo-sphere, 12, 405-414.

Downloads

Published

2024-06-12