การผลิตปูม้านิ่มเชิงธุรกิจ

Commercial Production of the Soft Shell Blue Swimming Crab (Portunus pelagicus)

Authors

  • บุญรัตน์ ประทุมชาติ

Keywords:

ปูนิ่ม , การเลี้ยงปูนิ่ม, crab, soft-shell crab, Portunus

Abstract

ปัจจุบันความต้องการปูนิ่มในตลาดโลกเพิ่มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยซึ่งอยู่ในเขตร้อนมีศักยภาพสูงในการขยายธุรกิจปูนิ่ม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเตรียมพร้อมเพื่อหาวิธีการที่ง่ายต่อการจำแนกระยะลอกคราบ กลยุทธ์การเลี้ยง การจัดการด้านการเก็บเกี่ยวสำหรับฟาร์มปูม้านิ่ม (Portunus pelagicus) ในประเทศไทย งานวิจัยนี้จะชี้ให้เห็นถึงวิธีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงและลดปัญหาสำหรับผู้ประกอบการผู้ซึ่งสนใจจะดำเนินธุรกิจปูม้านิ่ม  จากการวิจัยพบว่า การตรวจสอบระยะลอกคราบสามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของสีและระดับของช่องว่างระหว่างเปลือกเก่าและเปลือกใหม่บริเวณขอบด้านในของรยางค์คู่ที่ 5 ทั้งปูม้าเพศผู้และเพศเมีย รวมทั้งใช้สัดส่วนของสีที่ปรากฏบริเวณตับปิ้งของปูม้าเพศเมีย และรอยของแนวเส้นที่เกิดซ้อนขึ้นมาด้านในตับปิ้งปูม้าเพศผู้ร่วมในการจำแนกด้วย คุณภาพปูม้านิ่มที่ยอมรับได้มีเวลาเฉลี่ย 45 นาที ภายหลังจากลอกคราบเสร็จ ค่าความแข็งตัวของเปลือกที่ระดับ 3 (380.8±1.2 g) สอดคล้องกับขบวนการสะสมแร่ธาตุและโครงสร้างของเปลือกปูม้านิ่มที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาการยอมรับได้ของปูม้านิ่มภายหลังลอกคราบจะยาวนานขึ้นเมื่อปูม้ามีขนาดใหญ่ขึ้นและความเค็มที่ใช้เลี้ยงลดลง การนำปูม้าภายหลังลอกคราบใหม่จุ่มลงในน้ำความเค็ม 5 ส่วนในพัน ที่อุณหภูมิ 15 ํC นับว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดต่อการชะลอการสร้างเปลือกให้คงรักษาคุณภาพปูม้านิ่มที่ยอมรับได้นาน 3 ชั่วโมง 30 นาที หากทำการพิจารณาจากระยะเวลาที่คืนทุน กำไรสุทธิภายใต้การเช่าฟาร์ม และการรอดตาย 70% ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนเริ่มแรกและต้นทุนผันแปรของการเลี้ยงในบ่อซิเมนต์สูงกว่าการเลี้ยงในบ่อดินประมาณ 40% และ 100% ตามลำดับ ซึ่งปูม้าขนาดเล็ก (45 กรัม) นับเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการผลิตปูม้านิ่ม เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่าและการลงทุนต่ำกว่าปูม้าขนาดใหญ่ ธุรกิจปูม้านิ่มจะยั่งยืนได้ควรมีการรอดตายของปูสูงกว่า 50%  Up to date, the demand of soft-shell crabs in world market is continuously increased. Due to tropical climate, Thailand has highly potential expansion for soft shell crab business. Therefore, it is noteworthy to provide a simple operation concerning the identification of molting stages, culture strategies, through management harvest of peeler crab for the soft-shell crab (Portunus pelagicus) farm in Thailand. This finding demonstrated how to reduce risk and problems, via careful planning beforehand for commercial operators who are interested in setting up a soft shell crab business.  A simple and precise methodology for identification of molting stages in blue swimming crabs (P. pelagicus), color and a translucent zone between the old and the new cuticle (degree of separation) of the outer edge of dactylopodite of both sexes were found. Furthermore, changes in abdomen color of female and the appearances of inner line in abdomen of male were also recognized. The quality of soft-shell crab was accepted within 45 min for P. pelagicus (level 380.8 ±1.2 g of cuticle strength) after molt. This concurred with the rapid alteration of mineralization process and cuticle structure. Duration for quality acceptance of peeler crab was longer when their sizes were larger and salinity for culture decreased. An immersion in 5 ppt medium at 15 ํC was the best practice for keeping quality of soft shell crab. Duration for quality acceptance of soft-shell crab after molt was increased to 3 hours and 30 minutes. When considering of payback period, net profit under farm lease and 70% survival rate of crab, it was indicated that initial investment and variable cost of cement pond was higher than those of the earthen pond at 40% and 100%, respectively. The small crab (45 g) is the best chance for soft-shell crab production because the net profit was higher than that of the larger one while the investment was lower. The soft-shell crab business will be sustained the survival rate of crab should be higher than 50%.

References

บุญรัตน์ ประทุมชาติ และ ปภาศิริ บาร์เนท. (2548). การพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงปูม้านิ่ม (Portunus pelagicus) ในเชิงพาณิชย์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว) ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญรัตน์ ประทุมชาติ และ ปภาศิริ บาร์เนท. (2549). แนวทางการกำจัดเพรียงถั่วงอกในเหงือกปูม้า (Portunus pelagicus) และปูทะเล (Scylla serrata). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว) ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญรัตน์ ประทุมชาติ และ วรรณวิภา สุวรรณรักษ์ (2550). การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของเปลือก และการชะลอการสร้างเปลือกของปู้ม้าและปูทะเล (Portunus pelagicus and Scylla serrata) หลังการลอกคราบ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว) ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Hudson, D.A. & J.G., Lester. (1994). Parasites and symbionts of wild mud crabs Scylla serrata (Forskal) of potential significance in aquaculture. Aquaculture, 120 (3-4), 183-199.

Pratoomchat B, Sawangwong P, Guedes R, Reis M.D.L, & Machado J. (2002). Cuticle Ultrastructure changes in the crab Scylla serrata over the molt cycle. Journal of Experimental Zoology, 293(4), 414-426.

Pratoomchat, B., Sawangwong, P. & J. Machado. (2004). Identification of molting stages of Scylla serrata based on cuticle morphology. In Biomineralization (BIOM2001): formation, diversity, evolution and application. p. 98-102. Kobayashi & Ozawa (Eds) Tokai Univ Press.

Downloads

Published

2024-06-20