ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบฉวยโอกาสบางสายพันธุ์ของสารสกัดเมทานอลรางจืด

The Antimicrobial Activity of a Methanol Extract from Thunbergia laurifolia (L.) Against some Opportunistic Gram Negative Bacteria

Authors

  • วิสาตรี คงเจริญสุนทร
  • ปิยรัตน์ พิมพ์สวัสดิ์

Keywords:

แบคทีเรียแกรมลบ, เม็ทธานอล, รางจืด(พืช), สารต้านการติดเชื้อ

Abstract

การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดรางจืด (Thunbergia laurifolia Linn) ด้วยเมทานอลเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับยาปฏิชีวนะ คือแอมพิซิลิน (ampicillin) และเตตราซัยคลิน (tetracycline) ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบฉวยโอกาส 6 สายพันธุ์ ได้แก่ Escherichia coli ATCC 25913, Klebsiella pneumoniae, Proteus mirabilis, Pseudomonas aeruginosa, Acinetobacter baumannii และ Serratia marcescens ทำการวัดผลจากค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (minimum inhibitory concentration, MIC) ด้วยวิธี agar diffusion susceptibility test ซึ่งพบว่า สารสกัดจากรางจืดด้วยเมทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มฉวยโอกาสทุกชนิดที่นำมาทดสอบ โดยมีผลยับยั้งการเจริญของ P. aeruginosa ได้ดีที่สุด ที่ค่า MIC เท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร รองลงมามีผลต่อการเจริญของ K. pneumoniae, S. marcescens, and P. mirabilis (ที่ค่า MIC เท่ากับ 40 mg/ml) และมีผลต่อ E. coli ATCC25913 และ A. baumannii น้อยที่สุด (ที่ค่า MIC เท่ากับ 80 mg/ml) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับยาปฏิชีวนะ พบว่าสารสกัดรางจืดด้วยเมทานอลมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมลบฉวยโอกาสบางสายพันธุ์ได้ในระดับที่ต่ำกว่าแอมพิซิลินและเตตราซัยคลินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากรางจืดสามารถใช้เป็นยาต้านจุลินทรีย์จากแหล่งธรรมชาติ  This research was aimed to study the antimicrobial activity of a methanol extract from Thunbergia laurifolia (L.) against 6 strains of opportunistic gram negative bacteria: Escherichia coli ATCC25913, Klebsiella pneumoniae, Proteus mirabilis, Pseudomonas aeruginosa, Acinetobacter baumannii and Serratia marcescens. The experiments were tested by agar diffusion susceptibility test and evaluated by determining the minimum inhibitory concentration (MICs) of the extracts. The efficacy of antimicrobial activity of the extracts was also compared with two antibiotics, ampicillin and tetracycline. The results showed that various dilutions of methanol extract from T. laurifolia (L.) could inhibit the growth of all bacterial strains tested with statistical significance (P≤0.05). The most efficacy of antimicrobial activity was shown by the MIC of P. aeruginosa (10 mg/ml) followed by the MICs of K. pneumoniae, S. marcescens, and P. mirabilis (40 mg/ml). The least antimicrobial activity was E. coli ATCC25913 and A. baumannii (80 mg/ml). However, the efficacy of methanol extract from T. laurifolia (L.) was less than the efficacy of both antibiotics, ampicillin and tetracycline with statistical significance (P≤0.05). From this study we can concluded that the methanol extract of T. laurifolia (L.) can be a source of natural antimicrobial agent.

References

ชะลอ อุทกภาชน์. (2519). ยาสมุนไพรกับโรคในประเทศเขตร้อนและวิธีการบำบัดรักษา. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยาอินเตอร์เนชั่นแนล.

ทวีวงศ์ ตันตราชีวธร, นิรมล วิทิตภัทรภาคย์ และอุราภรณ์ ภูมิศานติพงศ์. (2550). ระบาดวิทยาการติดเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กที่วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล. จดหมายเหตุทางการแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, 90(2), 258-265.

นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. (2547). แบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับโรค (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผการัตน์ ตั้งเขื่อนขันธ์ และละออง พรหมเอาะ. (2540). การตั้งตำรับครีมสมุนไพรของสารสกัดจากใบรางจืด เพื่อใช้ต้านการอักเสบ. ปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Aritajat, S., Wutteerapol, s., & Saenphet, K. (2004). Antidiabetic effect of Thunbergia laurifolia Linn. Aqueous extract. Southeast Asian Journal of tropical Medicine & Public Health, 35(2), 53-58.

Kanchanapoom, T., Kasai, R., & Yamasaki, K. (2002). Iridoid glucosides from Thunbergia laurifolia. Phytochemistry, 60, 769 -771.

Khunkitti, W., Taweechaisupapong, S., Aromdee, A., & Pese, M. (2003). Antimicrobial activity of Thunbergia laurifolia Crude extract. The 3rd world congress on medicinal plant and aromatic plants for human welfare, 3-7 Feb 2003, Chiang Mai, Thailand.

Pramyothin, P., Chirdchupunsare, H., Rungsipipat, A., and Chaichantipyuth, C. (2005). Hepatoprotective activity of Thunbergia laurifolia Linn extract in rat treated with ethanol: in vitro and in vivo studies. Journal of Ethnopharmacology, 102, 408-411.

Ratchadaporn Oonsivilai, Crystal Cheng, Joshua Bomser, Mario G. Ferruzzi, Suwayd Ningsanond. (2007). Photochemical profiling and phase II enzymeinducing properties of Thunbergia laurifolia Lindl. (RC) extracts. Journal of Ethnopharmacology, 114 (3), 3, 300-306d.

Rattanakiat, S. (2002). Anti-Herpes Simplex Virus Type 2 Activity of Some Thai Medicinal Plant Extracts. Thesis of Masterûs Degree, Microbiology, Chulalongkorn University.

Downloads

Published

2024-06-24