ผลของน้ำส้มสายชู กรดซิตริก และโซเดียมไบคาร์บอเนตต่อการลดลงของ Salmonella Typhimurium บนใบสะระแหน่

Effects of Vinegar, Citric Acid and Sodium Bicarbonate on Reduction of Salmonella Typhimurium on Peppermint

Authors

  • สุดสายชล หอมทอง
  • นันทวัน กรัตพงศ์

Keywords:

น้ำส้มสายชู, กรดมะนาว, โซเดียมไบคาร์บอเนต, ซาลโมเนลลา, เป็ปเปอร์มินต์, สะระแหน่, กรดซิตริก

Abstract

ผลของน้ำส้มสายชูความเข้มข้น 2 และ 5 เปอร์เซ็นต์ กรดซิตริกความเข้มข้น 2 และ 5 เปอร์เซ็นต์ และโซเดียมไบคาร์บอเนตความเข้มข้น 1 และ 2 เปอร์เซ็นต์ ต่อการลดลงของ Salmonella Typhimurium บนใบสะระแหน่ ที่เวลา 0, 15 และ 30 นาที โดยใช้เชื้อเริ่มต้นประมาณ 5 log cfu/g พบว่าสารที่ใช้ทดสอบและเวลาที่ใช้สามารถลดปริมาณ S. Typhimurium ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับน้ำส้มสายชูความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 15 และ 30 นาที และกรดซิตริกความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 30 นาที สามารถลด S. Typhimurium ได้สูงสุด โดยอยู่ในช่วง 4.16-4.76 log cfu/g ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อย่างไรก็ตามการใช้น้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 30 นาที ทำให้ใบสะระแหน่เกิดสีน้ำตาลเล็กน้อย ส่วนน้ำส้มสายชูความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ และโซเดียมไบคาร์บอเนตความเข้มข้น 1 และ 2 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดปริมาณ S. Typhimurium ได้ต่ำ To evaluate the effects of vinegar, citric acid and sodium bicarbonate on reduction of Salmonella Typhimurium on peppermint, approximately 5 log cfu/g of S. Typhimurium were inoculated on peppermint leaves. They were subjected to be treated with 2% and 5% (v/v) vinegar, 2% and 5% (w/v) citric acid and 1% and 2% (w/v) sodium bicarbonate for 0, 15 and 30 min. Treatment of sanitizers and times in reducing the numbers of S. Typhimurium were statistically different (p<0.05). The 5% vinegar (15 and 30 min) and 5% citric acid (30 min) were effective maximum reduction ranging between 4.16-4.76 log cfu/g, there were no statistically different (p>0.05) from those solutions. However, discoloration and browning have been observed on peppermint leaves treated with 5% vinegar for 30 min. While 2% vinegar and 1% and 2% sodium bicarbonate were low effective in the reduction of S. Typhimurium.

References

จุรีรัตน์ มีสมิทธิ์. (2548). ปฏิบัติการจุลชีววิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีระ สูตะบุตร. (2543). แผนกลยุทธ์การวิจัยด้านเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรตามวาระการวิจัยแห่งชาติในภาวะวิกฤตเพื่อฟื้นฟูชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุษกร อุครภิชาติ. (2545). จุลชีววิทยาทางอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา: ภาควิชาชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ประกาศกรมวิชาการเกษตร. (2548). มาตรการตรวจสอบเชื้อ Escherichia coli (E. coli) และ Salmonella ในผักสดก่อนการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร. วันที่ค้นข้อมูล 2 สิงหาคม 2549. เข้าถึงได้จาก http://www.doa.go.th/pprdo/export_News&Info/ ประกาศกรมวิชาการเกษตรมาตรการตรวจสอบเชื้อ %20E_coli%20 และ %20Salmon....pdf

มนทกานติ์ บุญยการ. (2545). การลดการปนเปื้อนข้ามของ Salmonella Typhimurium ระหว่างการเตรียมผักสลัดโดยสารฆ่าเชื้อประเภทคลอรีน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัญฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

AOAC. (1990). Official Methods of Analysis (15th ed.). Virginia: Association of Official Analytical Chemists, Inc.

Bari, M.L., Kusunoki, H., Furukawa, H., Ikeda, H., Isshiki, K., and Uemura, T. (1999). Inhibition of growth of Escherichia coli O157:H7 in fresh radish (Raphanus sativus) sprout production by calcinated calcium. Journal of Food Protection, 62, 128-132.

Beuchat, L.R. (1992). Surface disinfection of raw produce. Dairy Food Environmental Sanitation, 12, 6-9.

Beuchat, L.R., and Golden, D.A. (1989). Antimicrobials occurring naturally in foods. Food Technology, 43, 134-142.

Beuchat, L.R., Nail, B.V., Adler, B.B., and Clavero, M.R.S. (1998). Efficacy of spray application of chlorinated water in killing pathogenic bacteria on raw apples, tomatoes and lettuce. Journal of Food Protection, 61, 1305-1311.

Downloads

Published

2024-06-24