การสำรวจการใช้โพรไบโอติกในการเลี้ยงกุ้งขาวแปซิฟิกในจังหวัดระยอง

Field Survey on the Use of Probiotic in Pacific White Shrimp (Litopenaeus vannamei) Aquaculture in Rayong Province

Authors

  • สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
  • ประพัตร์ แก้วมณี
  • ไตรมาศ บุญไทย
  • วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย

Keywords:

โพรไบโอติก, กุ้งขาว, การเลี้ยง, ระยอง, กุ้ง, อาหาร, ฟาร์มเลี้ยง, กุ้งขาวแปซิฟิก

Abstract

การสำรวจการใช้โพรไบโอติกในการเลี้ยงกุ้งขาวแปซิฟิกในฟาร์มเลี้ยงกุ้งจำนวน 60 แห่ง ได้ดำเนิน การระหว่างธันวาคม 2549 - มกราคม 2550 โดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ในเขตอำเภอเมือง อำเภอบ้านค่าย และอำเภอแกลง จังหวัดระยอง พบว่าฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแปซิฟิกในเขตอำเภอเมือง อำเภอบ้านค่าย และอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เริ่มใช้มาแล้ว 1-2 ปี ส่วนใหญ่มีการใช้โพรไบโอติก (ร้อยละ 61.67) ผู้ประกอบการมีความรู้ในเรื่องการใช้โพรไบโอติกปานกลาง โดยใช้โพรไบโอติกผสมกับอาหารกุ้งนำไปเลี้ยงกุ้งขาวแปซิฟิกตลอดรอบของการเลี้ยง นอกจากนี้ยังใช้โพรไบโอติกผสมน้ำสาดรอบบ่อเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกุ้ง จากการใช้โพรไบโอติกผู้ประกอบการให้ความเห็นว่าทำให้กุ้งขาวแปซิฟิกมีอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น ปริมาณขี้เลนลดลง สีของขี้เลนจางลงและสิ่งที่ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งขาวแปซิฟิกต้องการจากการใช้โพรไบโอติก คือ ต้องการให้ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกมีคุณภาพดีขึ้น (ร้อยละ 54.05) รองลงมา คือ ลดราคาโพรไบโอติกและให้รัฐผลิตโพรไบโอติกแจกให้แก่ผู้ประกอบการ  A survey on the use of probiotic in Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) farming was accomplished by questionnaires and interviews the owners of 60 grow-out farms between December 2006 - January 2007 in Amphoe Mueang Rayong, Ban Khai and Klaeng, Rayong Province. Results revealed that shrimp farmers used probiotic during the grow-out period 61.67% in the past 1-2 years of shrimp farmer. However, the knowledge related to the use of probiotics was relatively fair. The application of probiotic for white shrimp culture was introduced as the mixture of probiotic in diet throughout the culture period. Additionally, probiotic was also used to apply into the cultured ponds, resulting in enhancement of the growth rate and survival rate as well as reduction of the color and accumulation of sludge. The farm-owners need more helpful on the improvement of probiotic quality followed by the reduction in probiotic price and free support of probiotics by government.

References

จรูญ พุทธจรรยา. (2545). จุลินทรีย์เทคโนโลยีชีวภาพ. วารสารสัตว์น้ำ, 13(150), 39-42.

ชลอ ลิ้มสุวรรณ. (2543). กุ้งไทย 2000. กรุงเทพฯ : เจริญรัฐการพิมพ์.

ธวัชชัย สันติกุล. (2543). เลี้ยงจุลินทรีย์ใช้เอง. ประมงธุรกิจ, 1(9), 109.

วิเชียร สาคเรศ. (2547). เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไมของไทย. สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล งานวันกุ้งจันท์ตะวันออกแฟร์ ครั้งที่ 8.

สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล. (2549). คู่มือแนวทางการจัดการสุขอนามัยและความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ในประเทศไทย. กรุงเทพ : สถาบันการวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกรมประมง.

Abraham, T., Manley, J.R., Palaniappan, R. & Devendran, K. (1997). Pathogenicity and antibiotic sensitivity of luminous Vibrio harveyi isolated from diseased penaeid shrimp. Journal of Aquaculture in the Tropics, 12(1). 1-8.

Balcazar, J.L., Rojas-Luna, T. & Cunningham, D.P. (2007). Effect of the addition of four potential probiotic strains on the survival of Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) following immersion challenge with Vibrio parahaemolyticus. Journal of Invertebrate Pathology, 96(2). 147-150.

Briggs, M., Funge-Smith, S., Subasinghe, R. & Phillips, M. (2004). Introductions and movement of Penaeus vannamei and Penaeus stylirostris in Asia and the Pacific. Food and Agriculture Organization of the United Nations Regional Office for Asia and the Pacific, Bangkok.

Fuller, R. (1989). Probiotics in man and animals, a review. Journal of Applied Bacteriology, 66, 365-378.

Fuller, R. (1992). Probiotic the Scientific Basis, 1st ed. London: Chapman & Hall, pp. 398. 17.

Downloads

Published

2024-06-24