สภาพปลูกและขนาดหัวพันธุ์ที่มีต่อผลผลิตกลอย

Planting Conditions and Mother Tuber Sizes on Yield of Wild Yam

Authors

  • มาโนชญ์ กูลพฤกษี
  • ชัยวัฒน์ มครเพศ
  • เสวก พงษ์สำราญ

Keywords:

การปลูกกลอย(พืช), การปลูกกลางแจ้ง , กลอย, การปลูกเพื่อผลิตหัว, วิธีการปลูก, ผลผลิต

Abstract

การทดลองปลูกกลอยในสภาพต่าง ๆ กัน 3 ลักษณะ คือ สภาพป่าธรรมชาติ สภาพกลางแจ้งไม่มีค้างและสภาพกลางแจ้งมีค้างโดยใช้หัวพันธุ์กลอย 4 ขนาด คือ 500 1,000 1,500 ละ 2,000 กรัม วางแผนการทดลองแบบ split plot design โดยให้สภาพการปลูกเป็น main plot และขนาดของหัวพันธุ์กลอยเป็น sub plot ทำ 4 ซ้ำ พบว่าการใช้หัวพันธุ์ที่มีน้ำหนักมากจะทำให้กลอยสร้างหัวได้ใหญ่ขึ้น เถากลอยจะมีความยาวและเส้นผ่านศูนย์กลางมากขึ้น ส่วนจำนวนปล้อง/เมตรมีแนวโน้มลดลง การปลูกในสภาพกลางแจ้งมีค้างทำให้กลอยสามารถสร้างหัวที่มีน้ำหนักมากที่สุด เส้นผ่าศูนย์กลางของเถาใหญ่ที่สุด จำนวนปล้อง/เมตรมากที่สุด การปลูกในสภาพกลางแจ้งไม่มีค้างทำให้เถาหลักของกลอยมีความยาวน้อยที่สุด ในขณะที่สภาพป่าธรรมชาติจะทำให้กลอยสร้างเถาได้ยาวที่สุดและจำนวนปล้อง/เมตรน้อยที่สุด ส่วนการปลูกกลอยให้ขึ้นค้างในสภาพกลางแจ้งโดยใช้ขนาดหัวพันธุ์ (กรัม) จำนวนหัวพันธุ์ต่อหลัก (หัว) และระยะปลูก (เมตร) ที่แตกต่างกัน คือ 500/1/3.0 500/2/0.5 500/2/1.0 500/2/1.5 1,000/1/3.0 1,000/2/0.5 1,000/2/1.0 และ 1,000/2/1.5 วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) 3 ซ้ำ พบว่า การใช้หัวพันธุ์ขนาด 1,000 กรัม ทำให้ได้ผลผลิตหัวกลอยที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากกว่าการใช้หัวพันธุ์ขนาด 500 กรัม การใช้หัวพันธุ์ขนาดเท่ากัน 2 หัว/หลัก ไม่ว่าจะใช้ระยะระหว่างหัว 0.5 1.0 และ 1.5 จะทำให้ได้ผลผลิตหัวกลอยต่อ 1 หัวพันธุ์ที่ไม่ต่างไปจากการปลูกโดยใช้หัวพันธุ์เพียงหัวเดียวต่อหลักที่ปลูกระยะห่าง 3.0 เมตร และทุกวิธีการที่ปลูกให้ค่าเฉลี่ยความยาวและเส้นผ่าศูนย์กลางของเถาใกล้เคียงกัน แต่มีแนวโน้มว่าหัวพันธุ์ขนาด 1,000 กรัมจะให้ค่าเฉลี่ยความยาวและเส้นผ่าศูนย์กลางของเถามากกว่าหัวพันธุ์ขนาด 500 กรัม  Various sizes of mother wild yam tubers (500 1,000 1,500 and 2,000 grams tuber) were planted in three conditions: wild natural forest, open - wild field without stakes and open - wild field with stakes. Split plot experimental design was applied while planting conditions and tuber sizes were main plot and sub plot respectively with 4 replications. As the sesult, starting with higher weight of mother tubers could produce larger new tubers as well as longer and bigger vine - stem. However the number of internodes/meter tended to decrease. Planting yam in the open - wild field with stakes was found the most suitable for yam - tuber production due to the highest weight of tuber yield, biggest vine diameter and highest number of internodes/meter. Yam planting in the open - wild field without stakes caused the shortest main vine - stems, while planting in the wild natural forest caused the longest vine - stems and lowest number of internodes/meter. The experiment on yam planting in the open - wild field with stakes using different mother tuber sizes (gram), mother tuber numbers/stake (tuber) and planting space (meter): 500/1/3.0 500/2/0.5 500/2/1.0 500/2/1.5 1,000/1/3.0 1,000/2/0.5 1,000/2/1.0 and 1,000/2/1.5 were conducted in completely randomized design (CRD) with 3 replications. It was shown that using 1,000 grams mother tubers could produce bigger new tubers than using 500 grams mother tubers. Planting the same size of 2 mother tubers/stake by using different planting space: 0.5 1.0 and 1.5 meters, they could produce the same yield/mother tuber as planting 1 mother tuber/stake that using 3- meter planting space. There was no significant difference in the average length and diameter of vine - stems among all the treatments, but planting the 1,000 grams mother tubers had a tendency to give longer and bigger vine stems than planting the 500 grams mother tubers

References

กวิศร์ วานิชกุล. (2546). การจัดทรงต้นและการตัดแต่งไม้ผล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จารุฉัตร เขนยทิพย์. (2547). ผลของความเข้มแสงและขนาดของหัวพันธุ์ต่อการเติบโตของออนิโธกาลัม. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณรงค์ นิยมวิทย์. (2538). ธัญชาติและพืชหัว. กรุงเทพฯ : คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ต.ชาตรี. (2546). สมุนไพรเพื่อการเกษตรสำหรับป้องกันและกำจัดศัตรูพืช. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เค พี เอ็ม มีเดียสยามใ

ทิพวรรณ มาเสมอ และเทวิน พร้อมพวก. (2544). ศึกษาการขยายพันธุ์ของกลอยโดยใช้หัวพันธุ์แบบต่าง ๆ. ปัญหาพิเศษ คณะวิชาพืชศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจันทบุรี.

นิจศิริ เรืองรังสี และพะยอม ตันติวัฒน์. (2534). พืชสมุนไพร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พีรศักดิ์ วรสุนทรโรสถ, สุนทร ดุริยะประพันธ์, ทักษิณ อาจวาคม, สายัณห์ ตันพานิช, ชลธิชา นิวาสประพฤติ และปรียานันท์ ศรสูงเนิน. (2544). พืชที่ให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง.

วิรจิต แซ่จิว และสุวิมล หิรัญมุทราภรณ์. (2531). วิทยาการทดแทนสารเคมี : การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น สำหรับทดลองใช้ในพื้นที่. กรุงเทพฯ : สมาคมเทคโนโลยีทีเหมาะสม.

Hillman, J.R. (1984). Apical dominance. In M.B. Wilkins (ed.). Advanced Plant Physiology. (pp.127-148). London : Pitman Publishing Limited.

Onwueme, I.C. (1978). The tropical tuber crops : Yams, Cassava, Sweet Potato and Cocoyams. (1st ed.). Chichester : John Willey and Sons.

Downloads

Published

2024-06-24