ผลของความเค็มต่อการเติบโตและการบริโภคออกซิเจนของปลาหางนกยูง, Poecilia reticulata Peter, 1859
Effect of Salinity on Growth and Oxygen Consumption of Guppy, Poecilia reticulata Peter, 1859
Keywords:
ความเค็ม, ปลาหางนกยูง, การเจริญเติบโตของปลา, การเลี้ยงปลาAbstract
ศึกษาผลของความเค็มที่มีต่ออัตราการเติบโตและอัตราการบริโภคออกซิเจนของปลาหางนกยูง โดยทำการทดลองเลี้ยงปลาหางนกยูงในความเค็มต่างกัน 4 ระดับ คือ 0 (กลุ่มควบคุม), 3, 6 และ 9 ส่วนในพันส่วนเป็นเวลา 35 วัน และวัดอัตราการบริโภคออกซิเจนที่มีความเค็มระดับดังกล่าวที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส จากการศึกษาพบว่า น้ำหนักของปลาหางนกยูงที่มีความเค็ม 0, 3, 6 และ 9 ส่วนในพันส่วน ในวันสุดท้ายของการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 94.5±9.5, 93.6v6.7, 96.3±4.7 และ 101.0±9.1 มิลลิกรัมต่อตัว ตามลำดับ อัตราการเติบโตมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.35±0.25, 2.33±0.17, 2.41±0.11 และ 2.54±0.24 มิลลิกรัมต่อตัว ต่อวัน ตามลำดับ ซึ่งปลาหางนกยูงที่ความเค็ม 9 ส่วนในพันส่วน มีการเติบโตโดยน้ำหนักและอัตราการเติบโตสูงกว่าที่ความเค็ม 0 และ 3 ส่วนในพันส่วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) อัตราการบริโภคออกซิเจนของปลาหางนกยูงที่ความเค็ม 0 (กลุ่มควบคุม), 3, 6 และ 9 ส่วนในพันส่วน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.47±1.06, 4.88±1.25, 4.50±0.90 และ 4.51±0.91 มิลลิโมลต่อมิลลิกรัมต่อชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งจะห็นได้วาอัตราการบริโภคออกซิเจนของปลาหางนกยูง มีแนวโน้มลดลงเมื่อความเค็มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบทางสถิติพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ในแต่ละความเค็ม จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สามารถเลี้ยงปลาหางนกยูงได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย Effect of salinity on growth rate and oxygen consumption rate of guppy (Poecilia reticulata) was studied by culturing guppies in four different salinities: 0 (control), 3, 6 and 9 ppt for a duration of 35 days. Oxygen consumption rates were measured in each salinity at the temperature of 27 °C. At the end of the experiment, the average body weight of guppies at salinities 0, 3, 6 and 9 ppt were 94.5±9.5, 93.6±6.7, 96.3±4.7 and 101.0±9.1 mg/ind. respectively. The calculated growth rates were 2.35±0.25, 2.33±0.17, 2.41±0.11 and 2.54±0.24 mg./ind./day at salinities 0, 3, 6 and 9 ppt respectively. The statistical test showed that body weight and growth rate at salinity 9 ppt were significant higher than those at salinities 0 and 3 ppt (p < 0.05). The oxygen consumption rates of guppy at salinities 0, 3, 6, and 9 ppt were 5.47±1.06, 4.88±1.25, 4.50±0.90 and 4.51±0.91 mmol/mg/h respectively. Oxygen consumption rates seemed to decrease with increasing salinities. However, the statistical test showed no significant difference among each salinity. The result showed that it is possible to rear guppies in freshwater and brackish water conditions.References
เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน (2543) หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง. คณะเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นงนุช เลาหวิสุทธิ์ และวันเพ็ญ มีนกาญจน์ (2541). หางนกยูง.. ราชินีแห่งปลาตู้. เอกสารประกอบการฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม. ศูนย์ฝึกอบรมเกษตรการประมง. กองฝึกอบรม. กรมประมง.
ไมตรี ดวงสวัสดิ์ และจารุวรรณ สมศิริ (2528). คุณสมบัติของน้ำและวิธีวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางการประมง. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิจัยสิ่งแวดล้อมสัตว์น้ำ สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ กรมประมง.
วิมล เหมะจันทร (2528) ชีววิทยาปลา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 273 หน้า
วันเพ็ญ มีนกาญจน์ และศุภรัตน์ ฉัตรจริเวศน์ (2542). สภาวะการเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง (Poecilia reticulate) ในจังหวัดราชบุรี วารสารการประมง 52(1), 19-29 หน้า.
Bishop, J.a., Gosselink, J.G., & Stone, J.H. (1980) Oxygen consumption & hemolymph osmolarity of brown shimp, Penaeus azteces. Fishery Bulletin, 78(3), 741-757.
Chervinski, J. (1984) Salinity tolerance of the guppy, Poecilia reticulate Peters. Journal of Fish Biology, 24(4), 449-452.
Kinne. (1971) Salinity-invertebrates. In : O. Kinne (ed), Marine Ecology Environmental Factor, 2(1), Wiley-Interscience, London, pp. 822-995.
Lofts, B. (1956) The effect of salinity on the respiratory rate of the prawn. Journal of Experimental Biology 33, 730-736.
Schwerdtfeger, W.K. and J. Bereiter-Hahn (2004) Transient occurrence of chloride cells in the abdominal epidermis of the guppy, Poecilia reticulate Peters, adapted to sea water. Cell and Tissue Research, 191(3): 463-471.